สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะแห่งประเทศไทย

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
แชร์หน้านี้ไปที่ไลน์หรือเฟสบุ๊คได้ทันที คลิ๊กที่ปุ่ม . Share
ดู: 1708|ตอบ: 10
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

วิจัยเศรษฐกิจการเกษตรบางส่วน ตุลาคม 2557 (ตลาดแพะเนื้อ) [คัดลอกลิงก์]

Rank: 3

จังหวัด
อำนาจเจริญ
กระทู้
5
โพสต์
111
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2553) ได้ศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดแพะเนื้อ ในพื้นที่
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2552 ได้ศึกษาสภาพทั่วไปด้านการผลิตการตลาด ต้นทุนและผลตอบแทน
การเลี้ยงแพะเนื้อ และวิเคราะห์ศักยภาพการผลิตและการตลาดแพะเนื้อในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้นประถมการศึกษาตอนต้น มีอาชีพทำสวน
ยางพารา และมีพื้นที่ถือครอง 1-10 ไร่ ต่อครัวเรือน สภาพการผลิตแพะ เกษตรกรเลี้ยงแพะแบบขังสลับปล่อย
ใช้หญ้าและอาหารข้น แพะที่เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นแพะพันธุ์ลูกผสม แพะอายุ 1 ปี มีต้นทุนการผลิต 1,961.94
บาท เกษตรกรขายแพะน้ำหนักตัวประมาณ 25 กิโลกรัม ในราคากิโลกรัมละ 120 บาท ได้กำไรตัวละ
1,038.06 บาท เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อเชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาตอนต้น มีอาชีพ
ทำสวนยางพารา และมีพื้นที่ถือครอง 1-10 ไร่ต่อครัวเรือนเช่นเดียวกันกับเกษตรกรรายย่อย สำหรับสภาพ
การผลิตแพะ เกษตรกรเลี้ยงแบบขังสลับปล่อย ใช้หญ้าและอาหารข้นเช่นกัน แพะอายุ 1 ปี มีต้นทุนการผลิต
2,027.82 บาทต่อตัว เกษตรกรขายแพะน้ำหนักตัวประมาณ 25 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 120 บาท ได้กำไร
ตัวละ 972.18 และส่วนใหญ่จำหน่ายแพะให้ผู้บริโภคโดยตรง รัฐควรจัดอบรมให้ความรู้ในเทคโนโลยีสมัยใหม่
ในการเลี้ยงแพะและมีมาตรการสร้างแรงจูงใจ บูรณาการหน่วยงานในพื้นที่ในการเลี้ยงแพะเนื้อ และรวมกลุ่ม
เพื่อจัดตั้งและขยายโอกาสให้เครือข่ายเข้มแข็ง
สหรัฐ เงินสง่า (2550) ได้ศึกษาการผลิตและการตลาดแพะเนื้อในอำเภอสุไหงโกลก จังหวัด
นราธิวาส โดยศึกษาสภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ผลิตแพะเนื้อ สภาพการผลิตแพะเนื้อ การตลาด
แพะเนื้อ และปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับการผลิตและการตลาดแพะเนื้อ ผลการวิจัยพบว่า
1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 47.92 ปี นับถือศาสนาอิสลาม จบชั้นประถมศึกษา ได้รับข้อมูล
ข่าวสารจากเพื่อนเกษตรกร ระยะเวลาในการผลิตแพะเนื้อ 4.58 ปี ส่วนใหญ่ไม่เคยเข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับ
การผลิตแพะ และไม่เป็นสมาชิกลุ่มผลิตแพะ มีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 5.25 ไร่ มีรายได้จากการผลิตแพะเนื้อเฉลี่ย
10,823 บาทต่อเดือน 2) เกษตรกรผลิตแพะเนื้อเพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา ใช้เงินทุนของตนเอง ผลิตแพะ
พันธุ์พื้นเมือง สร้างโรงเรือนแบบกึ่งถาวรจากวัสดุพื้นบ้านไม่มีรั้วกั้น ไม่มีการแยกสัตว์ป่วย ใช้น้ำจากบ่อน้ำ
ในฤดูฝนและฤดูแล้งใช้หญ้าสดบริเวณที่สาธารณะผลิตแพะ ขาดการสำรองอาหารในฤดูแล้ง โดยไม่ผลิตด้วย
อาหารข้นและอาหารเสริม ทำความสะอาดคอกสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง 3) เกษตรกรจำหน่ายตรง การจำหน่าย
แพะมีชีวิตราคาเหมาเฉลี่ยตัวละ 2,500 บาท และจำหน่ายแพะมีชีวิตกิโลกรัมละ 120 บาท เกษตรกรเป็นผู้
กำหนดราคา และชำระเป็นเงินสด 4) เกษตรกรส่วนใหญ่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัญหาสภาพพื้นที่ไม่เหมาะสม
พ่อพันธุ์ และแม่พันธุ์ราคาสูง อาหารข้นและแร่ธาตุมีราคาแพง แพะป่วยเป็นโรคท้องเสีย และได้รับข้อมูล
ข่าวสารน้อย ทั้งนี้ภาครัฐควรทบทวนนโยบายการผลิตแพะทุกโครงการ เพื่อส่งเสริมการผลิตแพะให้มีคุณภาพ
สูงขึ้นต่อไปในอนาคต

Rank: 3

จังหวัด
อำนาจเจริญ
กระทู้
5
โพสต์
111
กรมปศุสัตว์ (2548) ได้ศึกษาการผลิตและการตลาดแพะเนื้อภาคกลาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
สภาพทั่วไปของการผลิตแพะเนื้อภาคกลาง ศึกษาต้นทุนการเลี้ยงแพะเนื้อภาคกลาง ศึกษาการตลาดและวิถี
การตลาดแพะเนื้อภาคกลางและปัญหาอุปสรรครวมทั้งข้อเสนอแนะในการเลี้ยงแพะเนื้อ ผลการศึกษาพบว่า
เกษตรกรมีลักษณะการเลี้ยงแพะเป็นแบบกึ่งขังกึ่งปล่อยหากินเองตามธรรมชาติ โดยปล่อยออกจากคอกในช่วง
เช้าและเย็น ต้นทุนการเลี้ยงแพะเนื้อภาคกลาง พบว่าพื้นที่สำนักสุขศาสตร์และสุขอนามัยที่ 1 ต้นทุนลูกแพะ
แรกคลอดเฉลี่ยตัวละ 217.98 บาท และเลี้ยงจนอายุ 6 เดือน จะมีต้นทุนการผลิตตัวละ 520.25 บาท ราคา
แพะเนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยตัวละ 1,363.00 บาท เกษตรกรจึงมีผลตอบแทนเฉลี่ยตัวละ 842.75 บาท และ
ในสำนักสุขศาสตร์และสุขอนามัยที่ 7 ต้นทุนลูกแพะแรกคลอดเฉลี่ยตัวละ 220.20 บาท และเลี้ยงจนอายุ
6 เดือน จะมีต้นทุนการผลิตตัวละ 519.28 บาท ราคาแพะเนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยตัวละ 1,268.75 บาท
เกษตรกรจึงมีผลตอบแทนเฉลี่ยตัวละ 749.47 บาท ซึ่งแพะเนื้อในภาคกลางนอกจากจะใช้บริโภคในครัวเรือน
แล้ว ผลผลิตที่เหลือยังสามารถจำหน่ายให้กับเพื่อนบ้านหรือตลาด เกษตรกรทั่วไปและพ่อค้าในตลาดระดับ
หมู่บ้านหรือตำบล ตลาดระดับอำเภอ และตลาดระดับจังหวัดต่อไป เกษตรกรมีปัญหาในด้านการขาดแคลน
พันธุ์แพะที่มีคุณภาพดี ขาดแคลนอาหารสัตว์ ขาดความรู้ในการจัดการด้านอาหาร และไม่สามารถจำหน่าย
ให้แก่ผู้บริโภคได้โดยตรง ต้องซื้อขายผ่านพ่อค้าคนกลางทำให้ขาดอำนาจการต่อรองด้านราคา

Rank: 3

จังหวัด
อำนาจเจริญ
กระทู้
5
โพสต์
111
สัดส่วนการชำแหละแพะเนื้อ
แพะเนื้อมีชีวิตที่ซื้อจากฟาร์มมีน้ำหนักเฉลี่ยตัวละ 25 กิโลกรัม ระหว่างการขนส่งแพะเนื้อจาก
ฟาร์มมายังโรงฆ่าสัตว์และรอก่อนฆ่า น้ำหนักแพะเนื้อจะลดลงซึ่งขึ้นอยู่กับระยะทางที่ขนส่งด้วย โดยเฉลี่ยจะ
ลดลงประมาณ 2 กิโลกรัม เหลือน้ำหนักแพะเนื้อที่ฆ่าเฉลี่ยตัวละ 23 กิโลกรัม และในการฆ่าชำแหละแพะเนื้อ
จะมีการสูญเสียน้ำหนักจากเลือด ขน มูล เครื่องในส่วนที่ไม่บริโภค รวมน้ำหนักสูญเสียในการฆ่าชำแหละตัวละ
5.70 กิโลกรัม เหลือน้ำหนักซากเนื้อแพะรวมเครื่องในที่สามารถจำหน่ายได้ตัวละ 17.30 กิโลกรัม

Rank: 3

จังหวัด
อำนาจเจริญ
กระทู้
5
โพสต์
111
ที่มา : สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร ตลาดแพะเนื้อ

ผมอ่านแล้วรู้สึกว่ามีประโยชน์ เลยเอามาฝากบางส่วนครับ อ่านแล้วจะได้รู้โครงสร้างต้นทุน โครงสร้างการตลาด แล้วเราก็จะทราบว่าทำไม่ ราคาแพะแกะถึงมีราคาถูก มันมีส่วนเหลื่อมการตลาดอยู่เท่าไหร่ คนเลี้ยงได้เท่าไหร พ่อค้าคนกลางได้เท่าใหร่ คนขายปลีกเนื้อได้เท่าใหร่ แต่ต้องมาดัดแปลงเอานะครับเพราะเขาทำ สำรวจ วิเคราะห์ วิจัย มาถึงแค่ ปี 2554 ราคาบางอย่างอาจจะไม่ตรงเท่าใหร่ แต่ก็ใกล้เคียง ว่าง ๆ ผมจะทยอยนำมาลงเรื่อย ๆ เพราะลงหมดไม่ได้ไฟล์ใหญ่มาก มีประมาณ 80 หน้า หากต้องการอ่านเพิ่มเติมก็เข้า อากู๋ พิมพ์เสริชหาดูได้เลยครับ

Rank: 3

จังหวัด
อำนาจเจริญ
กระทู้
5
โพสต์
111
5#
โพสต์เมื่อ 20-4-2015 18:49:34 |แสดงเฉพาะโพสต์ของสมาชิกนี้
โครงสร้างตลาด Lancaster (อ้างถึงใน นราทิพย์, 2544) อธิบายว่า โครงสร้างตลาดในทาง
เศรษฐศาสตร์ แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ตลาดผู้ขายมากราย ตลาดผู้ขายน้อยราย
และตลาดผูกขาด ซึ่งการแบ่งประเภทของตลาดแยกตามลักษณะที่สำคัญ โดยพิจารณาจากจำนวนผู้ซื้อและ
จำนวนผู้ขายในตลาด ลักษณะสินค้าและบริการที่ซื้อขาย ความยากง่ายของการเข้าและออกจากตลาด และ
ความรอบรู้ข่าวสารต่างๆ ทั้งของผู้ซื้อและผู้ขาย ดังนี้
1) ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ มีลักษณะดังนี้
1.1) จำนวนผู้ซื้อผู้ขายมากราย
1.2) สินค้ามีลักษณะเหมือนกันทุกประการ สามารถทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์
นั่นหมายความว่า ผู้บริโภคจะไม่รู้สึกแตกต่างไม่ว่าจะซื้อสินค้ามาจากผู้ผลิตรายใดก็ตาม
1.3) ผู้ขายแต่ละรายมีความเป็นอิสระต่อกัน ไม่มีผู้ใดมีอำนาจในการกำหนดราคา
1.4) ไม่มีข้อจำกัดในการเข้าหรือออกจากอุตสาหกรรม ผู้ผลิตรายใหม่สามารถเข้าสู่ตลาดได้
ทุกเวลาเมื่อเห็นว่าการเข้ามาแข่งขันจะทำกำไรให้ตนได้
1.5) ผู้ซื้อและผู้ขายมีความรอบรู้ในข่าวสารของตลาดอย่างสมบูรณ์

ตลาดผู้ขายมากราย เป็นตลาดที่มีลักษณะผสมระหว่างตลาดแข่งขันสมบูรณ์และ
ตลาดผูกขาด มีลักษณะดังนี้
3.1) จำนวนผู้ขายมีมากราย ซึ่งแต่ละรายมีขนาดเล็กและมียอดขายไม่มากเมื่อเทียบกับ
ยอดขายทั้งตลาด
3.2) สินค้ามีลักษณะต่างกันในด้านความรู้สึกของผู้บริโภค แต่ใช้ทดแทนกันได้
3.3) ผู้ขายแต่ละรายสามารถควบคุมราคาสินค้าของตนได้บ้างแต่ไม่ต่างกันมากนัก
3.4) ไม่มีข้อจำกัดในการเข้าหรือออกจากตลาด

Rank: 3

จังหวัด
อำนาจเจริญ
กระทู้
5
โพสต์
111
6#
โพสต์เมื่อ 20-4-2015 19:01:04 |แสดงเฉพาะโพสต์ของสมาชิกนี้
ลักษณะโครงสร้างตลาด พฤติกรรมตลาด และวิถีการตลาดแพะเนื้อ
1) ลักษณะโครงสร้างตลาดแพะเนื้อ มีลักษณะเป็นตลาดผู้ขายมากราย (เกษตรกร) และผู้ซื้อ
มากราย (ผู้บริโภค) แพะเนื้อมีความแตกต่างกันในลักษณะของพันธุ์ รูปร่างหน้าตาของแพะเนื้อ แต่ก็สามารถใช้
ทดแทนกันได้ การเข้าออกจากตลาดสามารถทำได้อย่างเสรี ผู้ซื้อและผู้ขายมีความรอบรู้ในสภาพการณ์ของ
ตลาดเป็นอย่างดี
2) พฤติกรรมตลาดแพะเนื้อ ในปัจจุบันจำนวนแพะเนื้อมีน้อยกว่าความต้องการของผู้บริโภค
ทำให้แพะเนื้อมีราคาสูง ราคาจะขึ้นลงตาม Demand ในตลาดในแต่ละช่วงเวลา โดยส่วนใหญ่พ่อค้าเป็นผู้
กำหนดราคา
3) วิถีการตลาดแพะเนื้อเริ่มจากเกษตรกรทั่วไปที่เลี้ยงแพะเนื้อมีชีวิต โดยเกษตรกรจะขาย
แพะเนื้อมีชีวิตให้เกษตรกรด้วยกันเองเพื่อไปขยายพันธุ์หรือขุนต่อ ขายให้กับผู้บริโภคโดยตรง และขายให้
พ่อค้าขายปลีกเนื้อแพะชำแหละ นอกจากนั้นก็จะขายให้กับพ่อค้ารวบรวมท้องถิ่นหรือพ่อค้ารวบรวมท้องที่
โดยพ่อค้าจะมาทำการรับซื้อจากเกษตรกรในหมู่บ้าน หลังจากนั้นพ่อค้ารวบรวมแพะเนื้อมีชีวิตก็จะขาย
แพะเนื้อมีชีวิตต่อให้กับผู้บริโภค เกษตรกร และพ่อค้าขายปลีกเนื้อแพะชำแหละต่อไป

ส่วนเหลื่อมการตลาดแพะเนื้อ ปัจจัยที่มีผลต่อส่วนเหลื่อมการตลาด และประสิทธิภาพ
การตลาด
1) กรณีพ่อค้าขายปลีกเนื้อแพะชำแหละซื้อแพะเนื้อมีชีวิตจากเกษตรกรโดยตรง พบว่า ราคา
เฉลี่ยของแพะเนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรได้รับเท่ากับ 133.33 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ราคาขายปลีกเฉลี่ยของ
เนื้อแพะชำแหละที่ผู้บริโภคจ่ายเท่ากับ 234.10 บาทต่อกิโลกรัม โดยมีส่วนเหลื่อมการตลาดเท่ากับ 100.77
บาทต่อกิโลกรัม สามารถแยกเป็นต้นทุนการตลาด 84.40 บาทต่อกิโลกรัม และพ่อค้าขายปลีกเนื้อแพะ
ชำแหละมีกำไรเท่ากับ 16.37 บาทต่อกิโลกรัม

Rank: 3

จังหวัด
อำนาจเจริญ
กระทู้
5
โพสต์
111
7#
โพสต์เมื่อ 20-4-2015 19:03:41 |แสดงเฉพาะโพสต์ของสมาชิกนี้
2) กรณีพ่อค้าขายปลีกเนื้อแพะชำแหละซื้อแพะเนื้อมีชีวิตจากผู้รวบรวม พบว่า ราคาเฉลี่ยของ
แพะเนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรได้รับเท่ากับ 127.78 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ราคาขายปลีกเฉลี่ยของเนื้อแพะ
ชำแหละที่ผู้บริโภคจ่ายเท่ากับ 234.10 บาทต่อกิโลกรัม โดยมีส่วนเหลื่อมการตลาดเท่ากับ 106.32 บาทต่อ
กิโลกรัม สามารถแยกเป็นต้นทุนการตลาดทั้งหมด 89.51 บาทต่อกิโลกรัม และกำไรทั้งหมดของพ่อค้า
คนกลางเท่ากับ 16.81 บาทต่อกิโลกรัม
3) กรณีพ่อค้าขายปลีกแพะเนื้อมีชีวิตซื้อแพะเนื้อมีชีวิตจากเกษตรกรโดยตรง พบว่า ราคาเฉลี่ย
ของแพะเนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรได้รับเท่ากับ 176.25 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ราคาขายปลีกเฉลี่ยของแพะเนื้อ
มีชีวิตที่ผู้บริโภคจ่ายเท่ากับ 208.90 บาทต่อกิโลกรัม โดยมีส่วนเหลื่อมการตลาดเท่ากับ 32.65 บาทต่อกิโลกรัม
46
สามารถแยกเป็นต้นทุนการตลาด 5.85 บาทต่อกิโลกรัม และพ่อค้าขายปลีกแพะเนื้อมีชีวิตมีกำไรเท่ากับ 26.80
บาทต่อกิโลกรัม
4) กรณีพ่อค้าขายปลีกแพะเนื้อมีชีวิตซื้อแพะเนื้อมีชีวิตจากผู้รวบรวม โดยแบ่งเป็นผู้รวบรวม
จากภาคใต้ และผู้รวบรวมจากภาคอื่นๆ พบว่า ในส่วนที่ซื้อจากผู้รวบรวมภาคใต้ ราคาเฉลี่ยของแพะเนื้อมีชีวิต
ที่เกษตรกรได้รับเท่ากับ 169.34 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ราคาขายปลีกเฉลี่ยของแพะเนื้อมีชีวิตที่ผู้บริโภคจ่าย
เท่ากับ 208.90 บาทต่อกิโลกรัม โดยมีส่วนเหลื่อมการตลาดเท่ากับ 39.56 บาทต่อกิโลกรัม สามารถแยกเป็น
ต้นทุนการตลาดทั้งหมด 10.43 บาทต่อกิโลกรัม และกำไรทั้งหมดของพ่อค้าคนกลางเท่ากับ 29.13 บาทต่อ
กิโลกรัม สำหรับส่วนที่ซื้อจากผู้รวบรวมภาคอื่นๆ ราคาเฉลี่ยของแพะเนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรได้รับเท่ากับ 140.38
บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ราคาขายปลีกเฉลี่ยของแพะเนื้อมีชีวิตที่ผู้บริโภคจ่ายเท่ากับ 191.14 บาทต่อกิโลกรัม
โดยมีส่วนเหลื่อมการตลาดเท่ากับ 50.76 บาทต่อกิโลกรัม สามารถแยกเป็นต้นทุนการตลาดทั้งหมด 11.13
บาทต่อกิโลกรัม และกำไรทั้งหมดของพ่อค้าคนกลางเท่ากับ 39.63 บาทต่อกิโลกรัม
5) ปัจจัยที่มีผลต่อส่วนเหลื่อมการตลาด คือ ราคาแพะเนื้อ ปริมาณแพะเนื้อ ความต้องการของ
ผู้บริโภค และค่าใช้จ่ายทางการตลาด
6) ประสิทธิภาพการตลาดแพะเนื้อมีค่าเท่ากับ 261.54 ซึ่งมีค่าสูง แสดงว่าตลาดแพะเนื้อ
มีประสิทธิภาพ
5.2 ข้อเสนอแนะ
5.2.1 ส่งเสริมให้มีการผลิตแพะเนื้อเพิ่มขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการบริโภคแพะเนื้อ ซึ่งจะ
ทำให้ราคาแพะเนื้อไม่สูงจนเกินไป ผู้บริโภคสามารถที่จะบริโภคแพะเนื้อได้เพิ่มขึ้น
5.2.2 ส่งเสริมให้มีการประชาสัมพันธ์ เพื่อเพิ่มการบริโภคเนื้อแพะ และให้ข้อมูลข่าวสารถึงคุณค่าทาง
อาหารของเนื้อแพะ
5.2.3 ขยายช่องทางในการจำหน่ายแพะเนื้อให้เพิ่มขึ้น เช่น การจัดให้มีการจำหน่ายแพะเนื้อในตลาด
สดเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันมีจำนวนน้อยมากที่ขายในตลาดสด ส่วนใหญ่จะเป็นการซื้อขายกันโดยตรง
ระหว่างเกษตรกร พ่อค้า และผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคที่ต้องการจะบริโภคแต่ไม่ทราบช่องทางจึงไม่สามารถหา
ซื้อได้
5.2.4 สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อ โดยให้เกษตรกรมีการรวมกันซื้อและ
รวมกันขาย เพื่อให้สามารถต่อรองทางด้านราคา
5.2.5 เพิ่มเจ้าหน้าที่ภาครัฐในการส่งเสริมการเลี้ยงแพะเนื้อ ให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภค และ
การส่งออก
5.2.6 ควรหาวิธีลดต้นทุนด้านการขนส่ง เนื่องจากแพะเนื้อส่วนใหญ่จะใช้บริโภคในภาคใต้ แต่แหล่ง
ผลิตอยู่ในภาคกลาง ทำให้เกิดการสูญเสียระหว่างการขนส่ง ทำให้ราคาแพะเนื้อมีราคาสูงขึ้นเมื่อถึงมือผู้บริโภค
5.2.7 พ่อค้าขายปลีกแพะเนื้อมีชีวิต และพ่อค้าขายปลีกเนื้อแพะ ควรมีการสร้างเครือข่ายเพื่อให้
สามารถซื้อแพะเนื้อจากเกษตรกรโดยตรง เพื่อลดต้นทุนทางการตลาด

Rank: 3

จังหวัด
อำนาจเจริญ
กระทู้
5
โพสต์
111
8#
โพสต์เมื่อ 21-4-2015 19:03:41 |แสดงเฉพาะโพสต์ของสมาชิกนี้
สัดส่วนการชำแหละแพะเนื้อ ราคาขายปลีกแพะเนื้อชำแหละ

รายการ                   สัดส่วนการชำแหละแพะเนื้อ (กก)               ร้อยละ           ราคาขายปลีกเฉลี่ย (บาท/กก)

ขาหน้า                                              6.90                             27.60                         300
ขาหลัง                                               4.60                            18.40                         330
เครื่องใน (ตับ ปอด หัวใจ ม้าม ไข่ดัน)    1.70                            6.80                          160
หัว                                                      1.00                             4.0                            50
ข้อกีบเท้า                                             0.50                          2.00                           140                                                                   หนัง                                                  2.60                             10.4                         29.92                                                   
สูญเสีย                                             7.70                               30.80                          -
รวม                                                  25.00                             100                           234.10

หมายเหตุ: น้ำหนักแพะมีชีวิต 25.00 กก.
น้ำหนักที่สูญเสียระหว่างการขนส่ง 2.00 กก. เหลือน้ำหนักแพะเนื้อที่ฆ่า 23.00 กก.
น้ำหนักสูญเสียในการชำแหละ 5.70 กก. เหลือน้ำหนักซากรวมเครื่องในตัวละ 17.30 กก



Rank: 3

จังหวัด
อำนาจเจริญ
กระทู้
5
โพสต์
111
9#
โพสต์เมื่อ 21-4-2015 19:23:35 |แสดงเฉพาะโพสต์ของสมาชิกนี้
การผลิตแพะเนื้อ

จำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อในประเทศไทย ระหว่างปี 2551–2554 พบว่ามีจำนวน
เกษตรกรทั้งหมดเพิ่มขึ้นจาก 32,347 ครัวเรือน ในปี 2551 เป็น 40,372 ครัวเรือน ในปี 2554 หรือเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 7.01 ต่อปี  โดยมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากราคาแพะเนื้อมีชีวิตอยู่ในระดับที่
น่าพอใจ จึงดึงดูดใจให้เกษตรกรหันมาสนใจเลี้ยงกันมากขึ้น รวมทั้งมีโครงการต่างๆ จากภาครัฐมาส่งเสริม
ทำให้มีจำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อเพิ่มขึ้น โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้

เมื่อพิจารณาด้านจำนวนแพะเนื้อ

ณ วันที่ 1 มกราคม ระหว่างปี 2551–2554 พบว่า มีจำนวน
แพะเนื้อทั้งหมดเพิ่มขึ้นจาก 344,516 ตัว ในปี 2551 เป็น 394,204 ตัว ในปี 2554 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.66
ต่อปี เนื่องจากความต้องการแพะเนื้อในการบริโภคมีสูง และปัจจุบันเกษตรกรได้หันมาสนใจเลี้ยงแพะเนื้อ
เพิ่มมากขึ้น จึงส่งผลให้จำนวนแพะเนื้อเพิ่มสูงขึ้น โดยจังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่มีจำนวนแพะเนื้อ
มากที่สุด และภาคใต้มีจำนวนแพะเนื้อมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีจำนวนแพะเนื้อน้อยที่สุด

การตลาดแพะเนื้อ
การนำเข้าแพะมีชีวิต มีทั้งแพะมีชีวิตสำหรับทำพันธุ์และแพะมีชีวิตอื่นๆ จากสถิติการนำเข้า
ของกรมศุลกากร ในช่วงปี 2550 – 2554  พบว่า ประเทศไทยมีการนำเข้าแพะมีชีวิตสำหรับ
ทำพันธุ์ในปี 2550 จำนวน 302 ตัว มูลค่า 1,860,348 บาท และในปี 2553 จำนวน 648 ตัว มูลค่า
19,421,309 บาท ส่วนแพะมีชีวิตอื่นๆ ซึ่งนำเข้ามาเพื่อบริโภคนั้น ไทยมีการนำเข้าในปี 2553 จำนวน 1 ตัว
มูลค่า 3,664 บาท และในปี 2554 จำนวน 100 ตัว มูลค่า 45,000 บาท สำหรับการนำเข้าเนื้อแพะ ไทยมีการ
นำเข้าในปี 2554 จำนวน 12,013 กิโลกรัม มูลค่า 2,448,088 บาท และมีการนำเข้าหนังแพะฟอกในช่วงปี
2550-2554 โดยมีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.12 ต่อปี

การส่งออกแพะมีชีวิต มีทั้งแพะมีชีวิตสำหรับทำพันธุ์และแพะมีชีวิตอื่นๆ จากสถิติการส่งออก
ของกรมศุลกากร ในช่วงปี 2550 – 2554  พบว่า ประเทศไทยมีการส่งออกแพะมีชีวิตสำหรับ
ทำพันธุ์ในปี 2550 จำนวน 800 ตัว มูลค่า 435,868 บาท หลังจากนั้นไทยไม่มีการส่งออกแพะมีชีวิตสำหรับ
ทำพันธุ์อีก ส่วนแพะมีชีวิตอื่นๆ ไทยมีการส่งออกในปี 2550 จำนวน 15 ตัว มูลค่า 51,000 บาท หลังจากนั้น
ไทยไม่มีการส่งออกแพะมีชีวิตอื่นๆ อีก สำหรับการส่งออกเนื้อแพะนั้น ไทยไม่มีการส่งออกเนื้อแพะ แต่มีการ
ส่งออกหนังแพะฟอกในช่วงปี 2550-2554 โดยมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.21 ต่อปี

Rank: 3

จังหวัด
อำนาจเจริญ
กระทู้
5
โพสต์
111
10#
โพสต์เมื่อ 21-4-2015 19:40:32 |แสดงเฉพาะโพสต์ของสมาชิกนี้
ความคิดเห็นส่วนตัว :  จำนวนแพะเนื้อปี 2554 มีจำนวน 394,204 ตัว หากเปรียบเทียบกับจำนวนครัวเรือนทั้งหมดของประเทศไทย(ผมไม่เปรียบเทียบกับจำนวนประชากร เพราะไม่คิดว่าทุกคนต้องบริโภคเนื้อแพะ) จากการสำรวจสำมโนประชากรล่าสุดปี 2553 มีจำนวนครัวเรือนส่วนบุคคลอยู่ประมาณ 20 ล้าน 3 แสนกว่าครัวเรือน  1 ครัวเรือนมีสมาชิกอัตราเฉลีย 3.1 คน สมมติให้บริโภคแพะครัวเรือนละตัวแสดงว่าต้องเพิ่มจำนวนแพะอีกประมาณ 20 ล้านตัว หรือคิดว่ากินแพะแค่ครึ่งเดียวก็ 10 ล้านตัวครับ

Rank: 3

จังหวัด
ร้อยเอ็ด
กระทู้
6
โพสต์
33
11#
โพสต์เมื่อ 23-4-2015 23:25:40 |แสดงเฉพาะโพสต์ของสมาชิกนี้
คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | ลงทะเบียน

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะแห่งประเทศไทย

GMT+7, 27-4-2024 03:07

Powered by Discuz! X2

© 2001-2011 Comsenz Inc.

ขึ้นไปด้านบน