สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะแห่งประเทศไทย

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
แชร์หน้านี้ไปที่ไลน์หรือเฟสบุ๊คได้ทันที คลิ๊กที่ปุ่ม . Share
ดู: 13793|ตอบ: 7
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

โรคพื้นฐานในฟาร์มแพะ [คัดลอกลิงก์]

Rank: 6Rank: 6

G.S.A.
0001
จังหวัด
ฉะเชิงเทรา
กระทู้
103
โพสต์
3524

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

โรคพื้นฐานในฟาร์มแพะ
   "แพะ" เป็นสัตว์ที่เลี้ยงไม่ยาก หากเข้าใจในธรรมชาติและการจัดการฟาร์มที่ถูกต้อง โดยเฉพาะเรื่องของการป้องกันและควบคุมโรค เพราะถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การเลี้ยงไม่ประสบความสำเร็จ แต่ที่ผ่านมาเกษตรกรส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักโรคต่างๆ จึงมีความเสียหายเป็นระยะ ด้วยเหตุนี้ สาขาสัตวศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จึงจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนาอาชีพชุมชน หลักสูตร การดูแลสุขภาพแพะเบื้องต้น โดยให้ความรู้เกี่ยวกับชนิดของโรคแพะ เพื่อให้การควบคุมป้องกันของเกษตรกรมีประสิทธิภาพมากขึ้น
   
อาจารย์พรพนม คำมุงคุณ ให้ช้อมูลว่า โรคแพะ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
1. โรคติดเชื้อ เช่น เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิตหรือพยาธิทั้งภายในและภายนอก ซึ่งความรุนแรงแตกต่างกันไปตามชนิดของเชื้อ
2. โรคไม่ติดเชื้อ เช่น โรคที่มีสาเหตุจากการได้รับสารพิษ จากน้ำหรืออาหาร หรือโรคที่เกิดจากการขาดอาหารและแร่ธาตุ อย่างเช่น ไข้น้ำนม ซึ่งมีสาเหตุจากการขาดแคลเซียม เป็นต้น
โรคที่เกษตรกรควรรู้จัก
   โรคที่สร้างความเสียหายในการเลี้ยงแพะ สาเหตุและวิธีการป้องกันที่แตกต่างกัน แต่โรคที่รุนแรง ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ เพราะแพร่ระบาดสู่ตัวอื่นได้ จึงสร้างความเสียหายในวงกว้าง ดังนั้น การทำความรู้จักโรคแต่ละชนิด เพื่อจำแนกโรคที่พบในฟาร์ม จึงเป็นประโยชน์ในด้านการรักษาและการป้องกันของเกษตรกร
   โรคแรกที่ึควรรู้จักคือ โรคแอนแทร็กซ์ หรือที่เรียกกันว่า โรคกาลี เป็นโรคที่มีความรุนแรง สร้างความเสียหายได้ในวงกว้าง ทั้งยังเป็นโรคที่ติดต่อสู่คนได้ โดยสาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อ Bacillus anthracis ซึ่งติดต่อได้ทั้งทางอาหาร ผิวหนังและลมหายใจ การแพร่กระจายจึงเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว เมื่อสัตว์ได้รับเชื้อ มักแสดงอาการไม่ชัดเจน อาจมีการปวดท้องอย่างรุนแรง มีไข้ กระทั่งสัตว์ตายถึงวินิจฉัยโรคได้ โดยมีอาการเลือดออกตามทวารต่างๆ ของร่างกาย ทั้งปาก จมูก และทวารหนัก พร้อมกับมีอาการซากไม่แข็งตัว บวมและเน่าอย่างรวดเร็ว เมื่อเชื้อออกจากร่างกายสัตว์ จะอยู่ในสภาพแวดล้อมได้นนถึง 10 - 20 ปี ดังนั้น เมื่อสงสัยว่าสัตว์ป่วยเป็นโรคนี้ ไม่ควรผ่าซากหรือนำมาบริโภค เพราะเป็นการแพร่กระจายเชื้อในฟาร์ม ทั้งยังอาจติดต่อสู่ผู้บริโภคได้ อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานการพบโรคแอนแทร็กซ์ในแพะในประเทศไทย และโรคนี้ป้องกันได้ด้วยการใช้วัคซีน
   โรคต่อมาก็คือ โรคแท้งติดต่อ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในฟาร์ม ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Brucella melitensis แพะป่วยจะมีปัญหาทางด้านระบบสืบพันธุ์ ผสมติดยาก แท้งระยะของการตั้งท้อง (ประมาณ 2 เดือนสุดท้าย) ลูกคลอดออกมาอ่อนแอและตายในระยะแรก มดลูกอักเสบ รกค้าง ส่วนในตัวผู้ เกิดการอักเสบของอัณฑะ บวมใหญ่  ซึ่งโรคแท้งติดต่อมักแฝงอยู่ในฟาร์ม และสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นอยู่เป็นระยะ การติดต่อเกิดขึ้นได้ทั้งทางอาหาร บาดแผล และทางการผสมพันธุ์ ดังนั้นหาดตัวผู้มีเชื้อจึงแพร่กระจายสู่ตัวอื่นได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังติดต่อสู่คน หากไปสัมผัสสารคัดหลั่งหรือบริโภคผลิตภัณฑ์จากแพะป่วย จึงเป็นโรคที่ผู้เลี้ยงให้ความสำคัญมาก และมีการเจาะตรวจเลือดอยู่เป็นระยะ ส่วนการรักษา แม้เป็นโรคมีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย แต่ยังไม่มียาในการรักษา ดังนั้น วิธีการป้องกันที่ดีที่สุด คือการทำวัคซีนหรือป้องกันโรคเช้าฟาร์ม โดยการเจาะตรวจเลือดและกักโรคก่อนนำแพะจากแหล่งอื่นเข้าฟาร์ม
   ต่อมาคือ โรควัณโรคเทียม ซึ่งเกิดจากเชื้อ Corynebacterium pseudotuberculosis เป็นเชื้อคนละชนิดกับวัณโรคในวัวหรือในคน จึงเรียกว่าวัณโรคเทียม แต่ก็เป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ มีลักษณะของโรค คล้ายกับวัณโรคทั่วไป คือเกิดตุ่มหนองทั่วไปตามผิวหนัง ต่อมน้ำเหลือง รวมถึงอวัยวะภายใน ทั้งปอด ลำไส้ ตับ ซึ่งพบในแพะโตมากกว่าลูกแพะ และส่วนใหญ่เป็นลักษณะโรคเรื้อรัง ซึ่งอาจระบาดอยู่ในฟาร์ม แต่เกษตรกรไม่ทราบ โดยมักพบวัณโรคในฟาร์มที่เลี้ยงหนาแน่นมากเกินไป ดังนั้นควรมีพื้นที่สำหรับการเลี้ยงอย่างเหมาะสม สำหรับอาการที่แสดงออกมาเป็นลักษณะเรื้อรัง แพะผอม ป่วย แต่ไม่แสดงอาการจำเพาะของโรคชัดเจนนัก ซึ่งแพะที่เลี้ยงอยู่ส่วนใหญ่เกิดหนองได้ง่าย (แต่ก็อาจไม่ใช่วัณโรคเสมอไป) ส่วนการป้องกัน รักษาทำได้โดย หากพบแพะผอมและมีตุ่มหนองทั่วร่างกาย ควรแยกแพะออกจากฝูงเพื่อทำการรักษา และการผ่าฝี ต้องรักษาความสะอาดสวมถุงมือ เก็บสำลีและเศษหนองให้เรียบร้อยทุกครั้ง พร้อมกับใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ เพราะเชื้ออาจแพร่กระจายไปยังตัวอื่นๆ ได้ ควรใช้ยาฆ่าเชื้อโรคทำความสะอาดคอดเป็นประจำ เพราะโรคนี้ อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้
  โรคมงคล่อเทียม เกิดจากเชื้อ Psedumonas pseudomalliei ลักษณะของโรค คล้ายกับวัณโรคเทียม คือมีอาการป่วยเรื้อรัง มีตุ่มหนอง ทั้งบริเวณต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะภายใน แต่ที่ต่างคือ มีอาการทางประสาทร่วมด้วย เดินวน คอเอียง ยืนไม่สมดุล ซึ่งโรคนี้ติดต่อได้โดยสัมผัสทางบาดแผล เยื่อเมือกหรือมีการปนเปื้อนของเชื้อมากับน้ำและอาหาร การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ เช่น เพนสเตร็ป หรือ ออกซี่เตตร้าไซคลิน จะทำให้อาการของโรคหายไปเพียงระยะหนึ่่ง แล้วกลับมาเป็นอีก ทั้งนี้ ยาที่ฉีดเข้าไปฆ่าเชื้อในตุ่มหนองไม่ได้ วิธีการรักษษที่ไดเผลคือ เอาหนองออก ด้วยวิธีให้แตกเอง (เพราะหากใช้วิธีผ่า มักจะกลับมาเป็นใหม่) โดยใช้ทิงเจอร์ไอโอดีนเช็ดทุกวัน ซึ่งจะกัดทำให้หนองแตก จากนั้นทำความสะอาด โดยใช้ไฮโดรเย็นเปอร์ออกไซด์ ล้างหนองออกให้หมด ใช้ผ้าก๊อดชุบทิงเจอร์ไอโอดีนยัดไว้ ผ่าน 3 วันไปแล้ว ไม่ต้องใช้ทิงเจอร์ เพราะกัดบาดแผลทำให้เนื้อตายได้ พร้อมกับฉีดยาปฏิชีวนะ เช่น เพนสเตร็ป เพืื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้ออื่น แต่วิธีควบคุมโรคให้ดีที่สุดคือ กำจัดแพะป่วยออกจากฝูง  เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่กระจายในฟาร์ม พร้อมกับรักษาความสะอาดภายในฟาร์ม คอก และโรงเรือนที่แพะนอนอยู่เสมอ
  โรคข้ออักเสบ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในฟาร์ม มีทั้งข้ออักเสบแบบมีหนอง (อักเสบแบบนุ่ม) ข้ออักเสบแบบไม่มีหนอง (อักเสบแบบแข็ง) โดยลักษณะของแพะที่ป่วยเป็นโรคนี้คือ มีอาการบวม ร้อนตามข้อ เจ็บปวด เดินกระเพลก ซึ่งโรคข้ออักเสบเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ โดยแยกการอักเสบได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ
      1. การอักเสบแบบไม่ติดเชื้อ
          สาเหตุของการอักเสบแบบไม่ติดเชื้อ เกิดการกระทบกระแทก การต่อสู้กัน ลื่นล้ม หรือขึ้นผสมพันธุ์ ไล่กันระหว่างเป็นสัด การอักเสบเช่นนี้ไม่น่ากลัว บางครั้งอาจหายเอง หรือคัดแยกเลี้ยงไว้ในคอกที่ไม่ลื่น การอักเสบก็หายเองได้ หรือให้ยาลดการอักเสบ ปวดบวมหรือใช้การประคบร้อน ประคบเย็นก็ช่วยได้ ส่วนในกรณีแพะอายุน้อยๆ การอักเสบอาจเกิดจากอาการผิดปกติในการสะสมแคลเซียม หรือแพะอายุมากอาจเกิดอาการเจ็บของข้อ เช่นเดียวกับคยสูงอายุ
      2. การอักเสบแบบติดเชื้อ
          สำหรับการอักเสบแบบติดเชื้อ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดมีหนอง และชนิดไม่มีหนอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของเชื้อที่ได้รับ ซึ่งมีอยู่หลากหลายชนิด เช่น Streptococcus spp., Staphylococcus spp., Corynebacterium spp. และ Mycoplasma spp. ส่วนการรักษาหากพิจารณาแล้วว่าเป็นอาการข้ออักเสบแบบติดเชื้อ ถ้ามีหนองก็ต้องเอาหนองออกให้หมด ทำความสะอาดแผลและให้ยาปฏิชีวนะ แต่ถ้าหนองออกไม่หมด ยาเข้าไปทำลายไม่ได้ ให้ใช้ยาลดการอักเสบ และยาปฏิชีวนะชนิดออกฤทธิ์กว้างทำลายได้ทั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ เช่น ออกซี่เตตร้าไซคลิน พร้อมเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด
      โรคลำไส้อักเสบเป็นพิษ เป็นโรคที่พบได้ทั่วไปทุกท้องถิ่น เกิดกับแพะทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะลูกแพะ เกิดจาก Clostridium spp. เมื่อเชื้อเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารจะเพิ่มจพำนวนขึ้นและสร้างสารพิษในร่างกาย ลักษณะที่พบคือ มีอาการท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำ หรือถ้าอาการหนักมาก ถ่ายเป็นมูกเลือด แต่โรคนี้บางครั้งก็ไม่แสดงอาการท้องเสีย เพราะแพะอาจตายก่อนที่ยังไม่แสดงอาการ แต่เมื่อผ่าซากพบเลือดออกตามลำไส้ ที่ไม่แสดงอาการท้องเสีย เนื่องจากเป็นการติดเชื้ออย่างเฉียบพลัน ซึ่งสร้างสารพิษแล้วเข้าสู่กระแสโลหิตทำให้ตายได้ทันที แต่ถ้าเป็นโรคแบบเรื้อรัง เป็นหลายวันแล้วแสดงอาการท้องเสียเกิดขึ้น สำหรับการป้องกันทำโดย รักษาความสะอาดภายในคอด รางอาหารไม่ให้มีอาการเก่าค้างอยู่ ซึ่งจะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค หรือมุมคอกที่มูลอยู่ ควรทำความสะอาดให้เรียบร้อย เลือกใช้ยาฆ่าเชื้อที่เหมาะสม ส่วนยาที่ใช้ได้ผลในฟาร์ม เช่น เอ็นโรฟล็อกซาซิน ซัลฟา แต่ข้อควรระวังสำหรับใช้ยากลุ่มซัลฟา คือ เป็นพิษต่อไต ดังนั้นตึงควรระมัดระวังเรื่องนี้ด้วย
      โรคคอบวม เป็นโรคที่มีความรุนแรง แต่ยังไม่มีรายงานการเกิดโรคในแพะ โดยปกติพบได้บ่อยในควาย แต่สัตว์อื่นก็มีโอกาสเป็นได้เช่นกัน โรคมักเกิดขึ้นในฤดูฝน เชื้อที่ก่อให้เกิดโรค คือ Pasteurella multocida เป็นเชื้อที่อยู่ในสัตว์เป็นปกติอยู่แล้ว แต่เมื่อร่างกายสัตว์อ่อนแอ หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม หรือมีสัตว์ในฝูงป่วยเชื้อก็เพิ่มจำนวนขึ้นและทำให้สัตว์ป่วยได้ ลักษณะของโรค มีอาการบวมน้ำตามผิวหนังบริเวณแก้มใต้คาง ลำคอ เจ็บปวดบริเวณที่บวม หายใจลำบาก อาจมีอาการท้องผูกและท้องร่วงร่วมด้วย การป้องกันรักษา เน้นเรื่องของการจัดการด้านสุขภาพ ให้แข็งแรงตลอดเวลา สุขาภิบาลที่ดี กักกันสัตว์ก่อนปล่อยฝูง และควรทำวัคซีนลูกแพะหลังหย่านมปีละ 2 ครั้ง
      โรคปอดบวม เป็นอีกโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในสภาวะอากาศหนาวเย็นและฝนตก แพะที่ป่วยมีอาการหายใจลำบาก หอบ ไอและจาม มีน้ำมูกข้นเหนียว สาเหตุเกิดจากหลายเชื้อ แต่ส่วนใหญ่ เป็นเชื้อที่มีอยู่ในร่างกายสัตว์และสภาพแวดล้อมอยู่แล้ว เช่น Streptococus มักสร้างปัญหาเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง ร่างกายอ่อนแอ โดยติดต่อทางการหายใจ ซึ่งการป้องกันรักษาโรค คือการดูแลให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรงอยู่เสมอ ทำความสะอาดพื้นคอก และใต้คอกอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการเกิดแอมโมเนียมาทำให้แพะระคายเคืองทางเดินหายใจ เพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการป่วยได้ การรักษาหากเห็นแพะเริ่มแสดงอาการป่วย หายใจด้วยท้องอย่างเดียว ไม่นอน ยืนพิงคอก หายใจถี่ ใช้ยากลุ่มซัลฟา หรือยาออกฤทธิ์กว่า เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนอื่นๆ แต่ถ้าปล่อยให้เป็นมากแล้วการรักษามักไม่ได้ผล
      สำหรับโรคที่มีสาเหตุจาก "เชื้อไวรัส"  ซึ่งยังไม่มียารักษา ดังนั้น การควบคุมป้องกันโรค เน้นไปที่การจัดการโรงเรือน การทำวัคซีน และการควบคุมการนำแพะจากแหล่งอื่นเข้ามาเลี้ยงในฟาร์ม ซึ่งโรคหลักๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสได้แก่ โรคปากและเท้าเปื่อย เป็นโรคติดต่อร้ายแรงในสัตว์กีบ เกิดจาก RNA ไวรัส ในกลุ่ม Picona Visus type A,O,C,Asia1 ลักษณะของโรคคือ มีตุ่มแดงรอบๆ ริมฝีปาก ช่องปาก เหงือก ลิ้น กระพุ้งแก้ม ข้อเท้า ไรกีบ หัวนวและเต้านม เมื่อตุ่มแดงมีการสะสมน้ำใสๆ จากนั้นจะแตกเป็นแผลหลุม ตามกีบเท้าเป็นแผลและหนอง โรคนี้ติดต่อโดยการสัมผัสเชื้อโดยตรงและอาหาร การรักษาหากพบแพะป่วย รักษาตามอาการ ทางที่ดีควรคัดแพะป่วยออกจากฝูง หรือทำวัคซีนลูกแพะหลังหย่านม ปีละ 2 ครั้ง อีกโรคที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสและมีอาการใกล้เคียงกันคือ       โรคปากเปื่อยพุพอง  ลักษณะของโรคเหมือนกับโรคปากและเื้าเปื่อย เพียงแต่แสดงอาการเฉพาะที่ปากเท่านั้น ไม่ลงเท้า
      สุดท้าย โรคข้อและสมองอักเสบในแพะ หรือเรียกย่อๆ ว่า ซีเอดี ซึ่งเป็นโรคที่วินิจฉัยยาก เพราะแสดงอาการทั้งข้อบวม และอาการทางประสาท เดินไม่ตรง คอบิด ถือว่าเป็นโรคที่มีความสำคัญโรคหนึ่งเกิดจากเชื้อ Retrovirus ในไทยมีแฝงอยู่มาก โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่มีเลือดต่างประเทศสูงๆ มักพบการระบาดของโรคในช่วงฤดูฝน การติดต่อผ่นทางน้ำนมจากแม่ที่เป็นโรค หรือติดต่อจากการสัมผัสเชื้อโดยตรง มักพบอาการในลูกแพะ เพราะแม่มีเชื้อแฝงอยู่แต่ไม่แสดงอาการ จึงมีความเสียหายมากในลูกแพะ ส่วนอาการอักเสบติดเชื้อที่ข้อมักพบในแพะที่มีอายุมาก ในการป้องกัน ควรแยกลูกแพะที่สงสัยว่าแม่เป็นโรค แต่ที่ดีที่สุด ตรวจเลือดทุกๆ 6 เดือน หากพบให้คัดทิ้ง พร้อมกับจักการระบบสุขาภิบาลในฟาร์มให้ดี เท่านี้ก็กำจัดเชื้อออกจากฟาร์มได้

ที่มา:: สัตว์เศรษฐกิจ
        ปีที่ 29 ฉบับที่ 659


มี 1 ผู้ให้คะแนนแต้ม สะสม ย่อ เหตุผล
dejasaang + 5 + 10 เนื้อหาดีมีสาระ.

คะแนนรวม: แต้ม + 5  สะสม + 10   ดูบันทึกคะแนน

ว.อุดมทรัพย์ฟาร์มแพะบอร์เลือดร้อยที่แปดริ้วG.S.A.0001
ผู้นำเข้าแพะ-แกะสายเลือดแชมม์โลกจากแอฟริกา
และตัวแทนจัดจำหน่าย สายพันธุ์ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
udomsub.v@gmail.com  AIS 081-687-8607

Rank: 12Rank: 12

G.S.A.
0022
จังหวัด
เพชรบูรณ์
กระทู้
3
โพสต์
407

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

ขอบคุณมากค่ะสำหรับความรู้ดีๆ ช่วงนี้ฝนตกแพะที่ฟาร์มเริ่มจะมีอาการไอบ้างแล้วคะ
วิเชียรบุรีฟาร์ม เพชรบูรณ์
pparnwas@hotmail.com

Rank: 2Rank: 2

จังหวัด
นครราชสีมา
กระทู้
0
โพสต์
10

ขอบคุณคับ

Rank: 6Rank: 6

G.S.A.
0001
จังหวัด
ฉะเชิงเทรา
กระทู้
103
โพสต์
3524

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

Up
ว.อุดมทรัพย์ฟาร์มแพะบอร์เลือดร้อยที่แปดริ้วG.S.A.0001
ผู้นำเข้าแพะ-แกะสายเลือดแชมม์โลกจากแอฟริกา
และตัวแทนจัดจำหน่าย สายพันธุ์ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
udomsub.v@gmail.com  AIS 081-687-8607

Rank: 2Rank: 2

จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์
กระทู้
1
โพสต์
25
5#
โพสต์เมื่อ 18-8-2012 21:11:49 |แสดงเฉพาะโพสต์ของสมาชิกนี้

Rank: 3

จังหวัด
ชัยนาท
กระทู้
1
โพสต์
260
6#
โพสต์เมื่อ 12-10-2014 21:05:47 |แสดงเฉพาะโพสต์ของสมาชิกนี้

Rank: 4Rank: 4

G.S.A.
0340
จังหวัด
นครราชสีมา
กระทู้
26
โพสต์
397

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

7#
โพสต์เมื่อ 14-10-2014 09:06:15 |แสดงเฉพาะโพสต์ของสมาชิกนี้
"เต็งหนึ่งฟาร์ม "
ขอบคุณสำหรับสาระดีๆครับ
" เต็งหนึ่งฟาร์ม "
43 หมู่ที่ 14  ตำบลกำปัง    อำเภอโนนไทย   จังหวัดนครราชสีมา  30220
ฟาร์มปศุสัตว์เล็กๆกระทัดรัด  ยินดีต้อนรับด้วยมิตรไมตรี
- G.S.A. 0340

Rank: 2Rank: 2

จังหวัด
ชุมพร
กระทู้
0
โพสต์
11
8#
โพสต์เมื่อ 7-12-2014 21:57:24 |แสดงเฉพาะโพสต์ของสมาชิกนี้
คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | ลงทะเบียน

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะแห่งประเทศไทย

GMT+7, 7-5-2024 02:29

Powered by Discuz! X2

© 2001-2011 Comsenz Inc.

ขึ้นไปด้านบน