สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะแห่งประเทศไทย

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
แชร์หน้านี้ไปที่ไลน์หรือเฟสบุ๊คได้ทันที คลิ๊กที่ปุ่ม . Share
ดู: 1773|ตอบ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

อยากทราบอาการ [คัดลอกลิงก์]

Rank: 5Rank: 5Rank: 5

จังหวัด
สุราษฎร์ธานี
กระทู้
0
โพสต์
108
คัดลอกลิงค์
โพสต์เมื่อ 17-11-2012 09:54:32 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

โรคปากและเท้าเปื่อย (Foot and mouth diseases; FMD)

เป็นโรคติดต่อร้ายแรงในสัตว์กีบเนื่องจากมีการระบาดได้อย่างรวดเร็ว โรคนี้จะเกิดอาการที่ มีลักษณะเด่นคือ มีตุ่มผดใสที่ปากและจะแตกกลายเป็นแผลหลุม ทำให้แพะเจ็บที่ปากแพะจึง ไม่สามารถกินอาหารได้ น้ำลายฟูมปาก เคี้ยวเอื้องไม่ได้ ตามกีบเท้าเป็นแผลและหนองทำให้ เท้าเจ็บจนแพะจะไม่ยอมเดินไปไหน โรคนี้อาจมีการติดต่อมาถึงคนได้แต่พบว่ามีโอกาสเกิด ขึ้นได้น้อยมาก

สาเหตุของโรค เกิดจาก RNA ไวรัสกลุ่ม Picorna virus เช่น type A, O, C, Asia 1  พบเชื้อไวรัสนี้อยู่ในของเหลว เลือด น้ำนม ปัสสาวะ สิ่งขับถ่ายต่างๆจากสัตว์ที่ป่วย และเนื้อเยื่อที่หลุดลอกออกมาจากแผล หากมีสิ่งคัดหลั่งหรือเนื้อเยื่อสัตว์ห่อหุ้มปกคลุมอยู่เชื้อไวรัสก็สามารถอยู่ได้นานขึ้น แต่เชื้อนี้จะ สามารถถูกทำลายได้ง่ายเพียงสัมผัสน้ำยาฆ่าเชื้ออย่างอ่อนหรือถูกแสงแดด จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องเน้นเรื่องความสะอาดโรงเรือน อาหาร และน้ำ รวมถึงการสุขาภิบาลที่ดี

การติดต่อของโรค โรคนี้ติดได้ง่ายและรวดเร็วมากโดยการกินอาหาร หญ้า และ น้ำร่วมกับสัตว์ป่วย การคลุกคลีสัมผัสกันโดยตรง หรือการที่ลูกดูดนมจากแม่ที่ป่วยด้วยโรคนี้ รวมถึงการเคลื่อนย้ายสัตว์ที่อาจเป็นพาหะของโรคจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งสามารถทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรคได้ง่าย ดังนั้นการเคลื่อนย้ายสัตว์จึงจำเป็นจะต้องได้รับการกักกัน โรคและการรับรองว่าปลอดโรค

อาการของโรค อาการเด่นคือจะพบว่ามีตุ่มแดงเกิดขึ้นอยู่ รอบๆริมฝีปาก ภายในช่องปาก เหงือก ลิ้น กระพุ้งแก้ม และรอบๆข้อเท้า ไรกีบ หรือพบได้ที่ หัวนม และเต้านม แพะจะมีอาการไข้ร่วมด้วยนานประมาณ 3-6 วัน จากนั้นตุ่มแดงจะมีการ สะสมน้ำใสๆและเริ่มแตกออก แผลที่เกิดจะพุพอง หนังหลุดลอกออกกลายเป็นแผลหลุมขนาด ใหญ่ลุกลามออกไป เมื่อตุ่มนี้แตกออกเป็นแผลแล้วจะทำให้แพะมีน้ำลายฟูมปากอยู่เสมอและ เจ็บปากจนทำให้แพะกินอาหารและเคี้ยวเอื้องไม่ได้ ร่างกายซูบผอมอ่อนแอลงจนตายไปเอง

ส่วนที่ไรกีบก็จะพบตุ่มที่แตกออกทำให้เกิดเป็นแผลหลุมขนาดใหญ่ กีบและข้อเท้า เป็นแผล ทำให้สัตว์เดินไม่สะดวกหรือเดินไม่ได้ อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนทำให้มี หนองและสร้างความเสียหายในเนื้อเยื่อชั้นที่ลึกลงไปจนถึงกระดูกนิ้วเท้า กีบเน่า และหลุดออก มาได้ รวมถึงหากมีการติดเชื้อที่รุนแรงอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดเกิดภาวะโลหิต เป็นพิษและตายได้

นอกจากนี้อาการอื่นๆที่อาจจะพบได้คือ ที่เต้านมจะแข็งเป็นก้อนมีอาการคล้ายกับ เป็นเต้านมอักเสบและเกิดเป็นแผลพุพองที่ผิวหนังของเต้านม หัวนม ผลผลิตน้ำนมลดลงและ น้ำนมที่ได้เกิดเป็นหนองหรือมีเลือดและน้ำเหลืองปนออก รวมทั้งอาจมีการแท้งเกิดขึ้นได้

การป้องกันและรักษา โรคนี้ถือเป็นโรคระบาดที่แพร่กระจายได้รวดเร็วและทำความเสียหายให้แก่วงการปศุสัตว์เป็นอย่างมาก จึงจำเป็นต้องมีมาตรการที่ใช้ในการควบคุม และป้องกันโรคนี้อย่างเข้มงวด โดยหากพบว่ามีสัตว์ป่วยด้วยโรคนี้ควรต้องทำลายสัตว์และฝัง และมีการกักสัตว์เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของโรค ในพื้นที่เมื่อมีการตรวจพบว่าเกิดโรคนี้ ระบาดแล้วจะต้องประกาศให้พื้นที่นั้นเป็นเขตกักกันสัตว์ขึ้นทันที ห้ามการเคลื่อนย้ายสัตว์ออก จากบริเวณนั้น เนื่องจากโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสจึงไม่มีการรักษานอกจากจะใช้การรักษาแบบพยุง อาการนั่นคือ เมื่อพบอาการป่วยหรือเกิดบาดแผลที่ใดก็ควรทำความสะอาดบาดแผลด้วยน้ำยา ฆ่าเชื้อและป้ายยาม่วงหรือใส่ยาที่แผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน และในราย ที่มีอาการป่วยรุนแรงหรือมีไข้ ควรให้ยาฉีดลดไข้และฉีดยาปฏิชีวนะให้เพื่อรักษาอาการติดเชื้อ แบคทีเรียแทรกซ้อน ปัจจุบันวัคซีนที่ใช้ฉีดเพื่อป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยมีอยู่ 3 ชนิดคือ type A, O และ Asia 1 ในฟาร์มแพะสามารถทำวัคซีนได้โดยฉีดวัคซีนในลูกแพะในช่วงอายุ หลังหย่านมและควรทำซ้ำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง


คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | ลงทะเบียน

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะแห่งประเทศไทย

GMT+7, 23-5-2024 01:17

Powered by Discuz! X2

© 2001-2011 Comsenz Inc.

ขึ้นไปด้านบน