สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะแห่งประเทศไทย

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
แชร์หน้านี้ไปที่ไลน์หรือเฟสบุ๊คได้ทันที คลิ๊กที่ปุ่ม . Share
ดู: 2405|ตอบ: 6
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

[แพะ] ขอความรู้หน่อยครับ [คัดลอกลิงก์]

Rank: 3

จังหวัด
สมุทรปราการ
กระทู้
11
โพสต์
61
การผสมเทียมแพะ มีข้อดี ข้อเสียอย่างไรครับ
suwat

Rank: 5Rank: 5Rank: 5

จังหวัด
สุราษฎร์ธานี
กระทู้
0
โพสต์
108
การผสมเทียม มีข้อดีคือ
1 สามารถช่วยปรับปรุงพันธุ์แพะในฟาร์ม สามารถ up grade iระดับสายเลือดแพะภายในฟาร์มก็ได้
2 ป้องกันการผสมแบบเลือดชิดภายในฝูง
3 น้ำเช้อที่รีดเก็บแช่แข็งอยู่ได้เป็บสิบปี และหากพ่อแพะมีพันธุกรรมดีแค่ 1ตัวก็สามารถผสมกับแม่แพะได้หลายพันตัว(1 ตัวจะรีดเก็บ 3000โด๊สสามารถผสมเทียมได้มากถึง 1500 ตัว) เรียกว่ากระจายพันธุ์ได้กว้างขวางทีเดียว
4 แพะต่างขนาดกันมากๆก็สามารถผสมเทียมได้ เช่น นำพ่อต่างประเทศผสมแพะพื้นเมืองไทยที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก
ข้อเสีย
1 อัตราการผสมติดต่ำกว่าผสมแบบธรรมชาติ เนื่องจากหลายปัจจัย
เช้น
ปริมาณอสุจิในหลอดมีน้อยกว่าในธรรมชาติ
ความสมบูรณ์พันธุ์ของแม่แพะ อาทิ อายุแม่แพะ การเป็นสัดและการตกไข่(ovulation) เป็นต้น
การเก็บรักษาคุณภาพน้ำเชื้อในหลอด
ความแม่นยำในการจับสัด(Heat detection)ของเจ้าของฟาร์ม
ขั้นตอนการผสมเทียมและประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่
2 หากพ่อพันธุ์แม่โรคที่่ติดต่อทางด้านการสืบพันธุ์ก็จะเป็นการแพร่กระจายของโรคที่รวดเร็ว (แต่การที่จะคัดเลือกพ่อพันธุ์รีดเก็บน้ำเชื้อต้องผ่านการตรวจโรคเรียบร้อยแล้ว)
                                                                                                               จากประสบการณ์น่าจะประมาณนี้นะครับ
ลองเปิด www.dld.go.th/airc_urt/ ของศูนย์ผสมเทียมฯสุราษฎร์ธานีดูได้ครับ มีการเคลื่อนไหวของเนื้อหาเกี่ยวกับแพะเกือบทุกเดือน เน้นการผสมเทียม ครับ

Rank: 4Rank: 4

G.S.A.
0175
จังหวัด
พังงา
กระทู้
4
โพสต์
112

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

และอีกอย่างนึงครับ คือไม่ต้องเสียเวลาเลี้ยงและดูแลพ่อพันธุ์ ซึ่งการดูและพ่อพันธุ์แต่ละตัวมีค่าใช้จ่ายสูงมาก และอีกอย่างเราสามารถเปลี่ยนพ่อพันธุ์ได้ทุกเมื่อตามความต้องการ
ทับปุดฟาร์มแพะ
http://www.facebook.com/ทับปุดฟาร์มแพะ
จำหน่ายแพะพันธุ์บอร์ และลูกผสมพันธุ์คาลาฮารี

Rank: 3

จังหวัด
สมุทรปราการ
กระทู้
11
โพสต์
61
ขอบคุณมากๆครับที่ให้ความรู้  และมีการขายน้ำอสุจิ
suwat

Rank: 5Rank: 5Rank: 5

จังหวัด
สุราษฎร์ธานี
กระทู้
0
โพสต์
108
5#
โพสต์เมื่อ 30-10-2012 19:48:53 |แสดงเฉพาะโพสต์ของสมาชิกนี้
ฟรีครับ น้ำเชื้อแช่แข็งของแพะ สำหรับทางศูนย์ฯผสมเทียมสุราษฎร์ธานีผสมเทียมแพะมากกว่า 1000 ตัว ตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมาใน 7 จังหวัดทางภาคใต้ตอนบน คือ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา และภูเก็ต ไม่เคยคิดเงินแม้แต่บาทเดียว ไม่ว่าจะเป็นการเหนี่ยวนำแล้วผสมเทียมหรือผสมเทียมจากสัดธรรมชาติ บริการฟรีไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ที่จริงทางศูนย์ฯกลับดีใจด้วยซ้ำหากเกษตรกรแจ้งความจำนงผสมเทียมแพะเข้ามา เมื่อตอนเริ่มต้นการบุกเบิกงานนี้ช่วงแรกๆยากมาก อัตราผสมติดก็ต่ำมาก บางฟาร์มผสมไม่ติดเลยก็มี ความเข้าใจในระบบสืบพันธุ์แพะก็ยังงงๆ เพราะต่างจากโคในหลายๆอย่าง และไม่ค่อยได้รับความสนใจในช่วงแรกๆ ซึ่งทีมผสมเทียมแพะของศูนย์ฯ เหน็ดเหนื่อยไม่น้อยตลอด3-4 ปีที่ผ่านมา จนกระทั่งทุกวันนี้ก็มีทิศทางที่ดีขึ้นนะครับ ได้รับการยอมรับจากเจ้าของฟาร์มมากขึ้น จนเดี๋ยวนี้เจ้าของฟาร์มหลายฟาร์มสามารถผสมเทียมเองได้ น้ำเชื้อก็จัดส่งให้สม่ำเสมอ แต่ทุกอย่างยังฟรีเหมือนเดิมครับ ซึ่งผมก็คิดว่าที่อื่นๆ(ของกรมฯ)ก็คงฟรีนะครับ




มี 1 ผู้ให้คะแนนแต้ม สะสม ย่อ เหตุผล
สุวัฒน์ + 5 + 5 เนื้อหาดีมีสาระ.

คะแนนรวม: แต้ม + 5  สะสม + 5   ดูบันทึกคะแนน

Rank: 4Rank: 4

จังหวัด
ราชบุรี
กระทู้
9
โพสต์
220
6#
โพสต์เมื่อ 30-10-2012 21:17:57 |แสดงเฉพาะโพสต์ของสมาชิกนี้
กำลังสนใจเรื่องนี้อยู่เลยครับ ขอบคุณมากๆๆด้วยนะคร้าบ

Rank: 3

จังหวัด
พัทลุง
กระทู้
0
โพสต์
62
7#
โพสต์เมื่อ 31-10-2012 16:05:01 |แสดงเฉพาะโพสต์ของสมาชิกนี้
อีกหนึ่งความเห็นครับ

ข้อดีมากๆ ของการผสมเทียมของกรมฯ ในสายตาเกษตรกร
-  ค่าใช้จ่ายฟรีครับ
- โอกาสได้ลูกแฝดสูงครับ เพราะมีการฉีดฮอร์โมนกระตุ้นรังไข่
- ได้น้ำเชื้อจากสัตว์พันธุ์ดีครับ พ่อเลือด 100 ทุกตัว (พ่อนอกด้วย) ไม่ต้องกลัวไปติดเหล่า CP

ข้อเสีย
- พ่อพันธุ์ แค่รู้ว่าบอร์ 100 แต่ไม่รู้ว่าการเจริญเติบโต/การแลกเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว ดีเลิศขนาดไหน
- คุณภาพน้ำเชื้อหลังการแช่แข็ง บางทีก็เคลื่อนไหว แต่ไม่เคลื่อนที่ ถึงแม้จะตรวจคุณภาพหลังการแช่แข็งแล้วก็ตาม เพราะ บางหลอดก็ดี บางหลอดก็ไม่ดี
- ลูกที่เกิดจากการผสมเทียม ไม่ได้สวยกว่าผสมจริง เพราะ สวย/ไม่สวย ขึ้นอยู่กับพ่อพันธุ์ และความสมบูรณ์ของแม่พันธุ์
- อัตราการผสมติดต่ำ ประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์ แล้วแต่ฤดูกาล ความสมบูรณ์ของแม่พันธุ์ (ถ้าแม่พันธุ์หลังคลอดยังไม่เคยแสดงอาการเป็นสัด อัตราการผสมติดก็ยิ่งต่ำมากๆ) ความสมบูรณ์ของอาหาร ฯลฯ ซึ่งขึ้นกับว่า เจ้าของฟาร์มพอใจมั้ย กับอัตราการผสมติดในระดับนี้
เช่น วันนี้ หลังคลอดมา 3 เดือน แพะตัวนี้เป็นสัด แต่ห้ามผสมจริง นำมาแยกขังไว้ ต้องเหนี่ยวนำ 14-17 วัน แล้วจึงผสมเทียมได้
  แต่ถ้าออกลูกเป็นเพศผู้-----> ได้ลูก Boer 50% หรือ 75% ความรู้สึกไม่น่ารอเลย
  ออกลูกตัวเมีย -----> คุ้มมั้กๆ เก็บไว้ทำพันธุ์ ตัวนี้ ใครมาซื้อ 20000 ก็ไม่ขาย
นั่นคือ ความรู้สึกของ 40-50% ที่ตั้งท้องจากการผสมเทียม
แต่อีก 50-60 % ที่ผสมไม่ติด แต่ควรจะท้องตั้งแต่ 2 เดือนที่แล้ว (ใช้เวลาเหนี่ยวนำ 3 สัปดาห์+กว่าจะรู้ว่าท้อง/ไม่ท้อง 6 สัปดาห์) มันก็เป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่ต้องเอามาคิด

... เหล่านี้ ส่งผลต่อการยอมรับการผสมเทียมของเกษตรกร เพราะ มีบางฟาร์มที่อัตราการผสมติด = 0 แต่บางฟาร์ม >60%  ไอ้ที่เท่ากับ 0 นี่ มีจริงๆนะ ผมเคยเจอมาเอง แต่ก็เข้าใจ...

... ถ้าคิดจะผลิตแพะเนื้อลูกผสมขาย 100 เปอร์เซ็นต์ ลูกตัวผู้-เมีย ก็ขายเนื้อเหมือนกัน เก็บไว้ทำพันธุ์เองบ้าง ก็ผสมจริงดีกว่าครับ
... แต่ถ้าเป็นผู้เลี้ยงหน้าใหม่ กำลังลองวิชา จะผลิตตัวผู้ขายเนื้อ ตัวเมียทำพันธุ์ (เหมือนผม) ก็ให้เลือดตัวเมียในฝูง >50-75% ค่อยมาติดต่ออีกที จะดีกว่าครับ

เพราะฉะนั้น ต้องถามตัวเองว่า พร้อมไหม กับการผสมเทียม
เฟิร์น... กงหรา พัทลุง
082 289 5935
คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | ลงทะเบียน

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะแห่งประเทศไทย

GMT+7, 8-5-2024 17:10

Powered by Discuz! X2

© 2001-2011 Comsenz Inc.

ขึ้นไปด้านบน