สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะแห่งประเทศไทย

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
แชร์หน้านี้ไปที่ไลน์หรือเฟสบุ๊คได้ทันที คลิ๊กที่ปุ่ม . Share
ดู: 5097|ตอบ: 4
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ความรู้เรื่องกระเพาะของสัตว์กระเพาะรวม [คัดลอกลิงก์]

Rank: 2Rank: 2

จังหวัด
ฉะเชิงเทรา
กระทู้
2
โพสต์
34
กระบวนการย่อยอาหารของสัตว์กระเพาะรวม
               เป็นเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆนะครับ
          สัตว์เคี้ยวเอื้อง ( Ruminant )  หรือสัตว์กระเพาะรวม ( Compound Stomach) หรือสัตว์ 4 กระเพาะ ได้แก่  Rumen  ( ผ้าขี้ริ้ว ) , Reticulum (รังผึ้ง) , Omasum (สามสิบกลีบ)  และ Abomasum (กระเพาะแท้)    หมายถึง   สัตว์ที่มีการขยอกเอาอาหารออกมาเคี้ยวเอื้อง     การทำงานของสามกระเพาะแรกอาศัยเอ็นไซม์ ( Enzyme ) ของจุลินทรีย์เป็นตัวย่อยหมักหรือย่อยอาหาร  ยกเว้นกระเพาะสุดท้ายคือกระเพาะแท้  ร่างกายสัตว์จะขับเอ็นไซม์มาช่วยย่อย  เมื่อลูกสัตว์ยังเล็กสามกระเพาะแรกยังไม่พัฒนา อาหารที่เป็นของเหลวจะไหลผ่านลำคอผ่านช่องแคบนี้ ( Oesophageal groove หรือ Ruticulo  groove ) ตรงไปยังกระเพาะอาหารแท้ ( Abomasum ) อาหารถูกย่อยดูดซึมไปยังทางเดินอาหารส่วนล่าง คือ ลำไส้ต่อไป  ซึ่งระยะนี้ระบบการย่อยอาหารจะเหมือนสัตว์กระเพาะเดี่ยว  เมื่อสามกระเพาะแรกพัฒนา ( ประมาณ 6 สัปดาห์ ) จะขยายใหญ่  ถ้าสัตว์โตเต็มที่ขนาดของสองกระเพาะแรกจะมีความจุประมาณ 60-85 %  ของความจุของกระเพาะทั้งหมด      Rumen    มีหน้าที่รับอาหารจากการผ่านขบวนการเคี้ยว  ที่มีอาหารในรูปของแข็ง   และปนกับน้ำลายปริมาณมาก  (  ในน้ำลายจะเป็นแหล่งไนโตรเจน  คือ ยูเรี่ย และมิวโคโปรตีน  มีฟอสฟอรัสและโซเดียม  ซึ่งจุลินทรีย์จะนำไปใช้  และน้ำลายทำหน้าที่รักษาระดับความเป็นกรดด่าง ( PH ) ใน Rumen และกระเพาะอื่นๆ )   อาหารจะถูกแยก  ส่วนบนจะเป็นอาหารในรูปของแข็ง  ส่วนล่างเป็นรูปของเหลวและอาหารแข็งที่ย่อยมีขนาดเล็กแล้ว  โดยการหดตัวของผนัง Rumen อาหารชิ้นใหญ่จะถูกดันให้อยู่ด้านบนส่วนหน้า  เมื่อสัตว์ต้องการเคี้ยวเอื้อง  กระเพาะส่วน Reticulum และ Rumen จะหดตัวมีแรงดันอาหารขยอกออกมาที่ปาก  อาหารก้อนที่ถูกนำมาเคี้ยวเอื้องเรียกว่า Bolus  มีจุลินทรีย์ติดมาเป็นจำนวนมาก  เมื่อเคี้ยวเอื้องแล้วจะกลืนกลับไปที่ Rumen ทำการคลุกเคล้าใหม่อาหารขนาดใหญ่ก็ขยอกออกมาเคี้ยวเอื้อง  อาหารขนาดเล็กก็ส่งไปยัง Reticulum  ส่วนที่เป็นแก๊สก็เรอออกมา  ส่วนที่เป็นสารละลายจะถูกดูดซึมผ่านผนัง Rumen เข้าสู่กระแสเลือดทันที   Reticulum  มีหน้าที่ดันอาหารที่มีขนาดใหญ่กลับไปที่ Rumen และปล่อยอาหารขนาดเล็กไปยัง Omasum    Omasum มีหน้าที่ย่อยอาหารต่อโดยอาศัยจุลินทรีย์ที่ติดมาจาก Rumen และ Reticulum  อาหารที่ถูกย่อยเป็นสารละลายจะถูกดูดซึมผ่านเข้าสู่กระแสเลือด  ส่วนที่เหลือก็เข้าสู่กระเพาะจริง   ( Abomasum )     Abomasum มีหน้าที่เหมือนสัตว์กระเพาะเดี่ยว  คือ  ย่อยอาหารและย่อยจุลินทรีย์ที่ติดมากับอาหาร  ทำให้สัตว์ได้รับกรดอะมิโนจากเซลล์จุลินทรีย์  และวิตามินต่างๆ ที่จุลินทรีย์สังเคราะห์ขึ้นมา สารละลายนี้ก็จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด
มี 1 ผู้ให้คะแนนแต้ม สะสม ย่อ เหตุผล
v.udomsub + 5 + 10 เนื้อหาดีมีสาระ.

คะแนนรวม: แต้ม + 5  สะสม + 10   ดูบันทึกคะแนน

เกษตรกรเป็นผู้ผลิด แต่ไมไม่มีสิทกำหนดราคา

Rank: 4Rank: 4

G.S.A.
0156
จังหวัด
ศรีสะเกษ
กระทู้
0
โพสต์
491

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

ขอบคุณสำหรับความรู้ และสาระดีๆค่ะ

Rank: 2Rank: 2

จังหวัด
ฉะเชิงเทรา
กระทู้
2
โพสต์
34
เดี๋ยวจะหารูปมาให้ดูทีหลังจะดูง่ายกว่า
เกษตรกรเป็นผู้ผลิด แต่ไมไม่มีสิทกำหนดราคา

Rank: 5Rank: 5Rank: 5

G.S.A.
0236
จังหวัด
พังงา
กระทู้
6
โพสต์
87

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลดีๆ

Rank: 5Rank: 5Rank: 5

G.S.A.
0188
จังหวัด
บุรีรัมย์
กระทู้
26
โพสต์
489

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

5#
โพสต์เมื่อ 19-9-2012 20:08:22 |แสดงเฉพาะโพสต์ของสมาชิกนี้
ต้นฉบับโพสต์โดย ในทอนฟาร์ม เมื่อ 19-9-2012 20:00
ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลดีๆ

ความรู้กินไม่หมดหรอกครับพี่น้อง แต่อย่างไรวิชาการก็ต้องควบคู่กับหลักความเป็นจริง.....ต้องไปพร้อมกัน
เกียรติสตึกฟาร์ม   
ลูกพ่อพิรุณเทพ [เกษตรบุรีรัมย์]        
โทร.089 - 0501138
คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | ลงทะเบียน

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะแห่งประเทศไทย

GMT+7, 8-5-2024 03:47

Powered by Discuz! X2

© 2001-2011 Comsenz Inc.

ขึ้นไปด้านบน