สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะแห่งประเทศไทย

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
แชร์หน้านี้ไปที่ไลน์หรือเฟสบุ๊คได้ทันที คลิ๊กที่ปุ่ม . Share
ดู: 1527|ตอบ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

[โรค] อัพเดพสถานการณ์เขตโรคระบาดปากเท้าเปื่อย ตุลาคม 2557 [คัดลอกลิงก์]

Rank: 3

จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์
กระทู้
9
โพสต์
145
กรอกหมายเลขโพสต์ ที่ต้องการจะข้ามไปดูในแต่ละโพสต์
คัดลอกลิงค์
อัพเดพสถานการณ์เขตโรคระบาดปากเท้าเปื่อยในเดือนตุลาคมนี้ในอยู่ใกล้บริเวณแนะนำให้ทำวัคซีนปากเท้าเปื่อยซ้ำในฝูงแพะแกะของท่านนะครับ และเน้นเรื่องคนเข้าออกฟาร์ม รวมทั้งรถจับสัตว์ครับ ให้มีการพ่นยาฆ่าเชื้อก่อนเข้าและออกฟาร์มให้ดี
1.ราชบุรี โพธาราม บ้านโปร่ง
2.สระบุรี มวกเหล็ก พระพุทธบาท
3.กาณจนบุรี ท่าม่วง
4.ลพบุรี ท่าหลวง
5.นครปฐม กำแพงแสน
6. ลำปาง แม่ทะ

โรคนี้สามารถลอยไปในอากาศได้รัศมี 5 km ครับ และอยู่ได้นานมากกว่า 1 เดือน ต้องระวังให้ดีครับผม
- จะเกิดมาเป็นคนไปทำไมถ้าไม่ทำให้โลกดีขึ้น -

Rank: 3

จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์
กระทู้
9
โพสต์
145
คัดลอกลิงค์
โพสต์เมื่อ 20-10-2014 09:10:00 |แสดงโพสต์ทั้งหมด
โรคปากและเท้าเปื่อย (Foot and mouth disease)
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัส เอฟ เอ็ม ดี (FMD) ที่พบในประเทศไทยมี 3 ไทป์ คือ โอ (O) เอ (A) และเอเชียวัน (Asia I) เชื้อทั้ง 3 ไทป์นี้ จะทำให้สัตว์ป่วยแสดงอาการเหมือนกัน แต่ไม่สามารถให้ภูมิคุ้มกันต่างไทป์ได้ กล่าวคือถ้าฉีดวัคซีน เอฟ ไทป์ เอ ให้ หรือสัตว์เคยป่วยเป็นโรคเอฟ ไทป์ เอ มาก่อน สัตว์จะมีภูมิคุ้มกันเฉพาะต่อโรคเอฟ ไทป์เอ เท่านั้น แต่จะไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคเอฟไทป์ โอ หรือ ไทป์ เอเชียวัน ดังนั้นหากมีโรคเอฟ ไทป์ โอ หรือเอเชียวันระบาดสัตว์ก็อาจจะติดโรคได้ โรคนี้มีระยะฟักตัว ประมาณ 2-8 วัน


อาการ
แพะที่เป็นโรคนี้ จะมีไข้ ซึม เบื่ออาหาร หลังจากนั้นจะมีเม็ดตุ่มพอง เกิดที่ริมฝีปากในช่องปาก เช่น เหงือกและลิ้น ทำให้น้ำลายไหล กินอาหารไม่ได้ และเกิดเม็ดตุ่มที่ระหว่างช่องกีบ ไรกีบ ทำให้เจ็บมาก เดินกะเผลก เมื่อเม็ดตุ่มแตกออกอาจมีเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ทำให้แผลหายช้าขณะที่โคเป็นโรคจะผอมน้ำนมจะลดลงอย่างมาก ในโคอัตราการติดโรคสูงถึง 100% อัตราการตาย 0.2-5% ในลูกโคอัตราการตายอาจสูงถึง 50-70% โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกโคที่ยังดูดนมอัตราการตายอาจสูงถึง 100%


การตรวจวินิจฉัย
เนื่องจากวัคซีนแต่ละไทป์ไม่สามารถให้ความคุ้มข้ามไทป์กันเมื่อมีสัตว์ป่วยด้วยโรคปากและเท้าเปื่อย ควรตรวจให้รู้ว่าเป็นไทป์ไหนเพื่อจะได้ฉีดวัคซีนป้องกันไทป์นั้น


การรักษา
ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน แผลจะหายเองใน 1-2 สัปดาห์ ถ้าแผลมีการติดเชื้อให้ทำความสะอาดแผล สำหรับที่กีบใส่ยาปฏิชีวนะชนิดที่ใช้ฉีดและใช้ยาป้ายแผล เช่น เพ็นไดสเตรป แอล เอ และใช้สำหรับที่ปากป้ายด้วยยาสีม่วง (เจนเชียนไวโอเลท)

วัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อย สำหรับโค-กระบือ เป็นวัคซีนเชื้อตายชนิดน้ำ (Aqueous vaccine) ผลิตจากเชื้อไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อย

  

การใช้        ใช้ฉีดป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย สำหรับโค กระบือ แพะ แกะ
ส่วนประกอบ        เป็นวัคซีนไทป์โอ เอ และเอเซียวันสเตรนท้องถิ่น มีการผลิตแบบชนิดไทป์เดียว (Monovalent)
ชนิดรวม 2 ไทป์ (Bivalent) ชนิดรวม3 ไทป์ (Trivalent)

วิธีการใช้ก่อนใช้เอาวัคซีนออกมาตั้งไว้ก่อนให้หายเย็นโดยสังเกตุง่ายคือให้หยดน้ำที่เกาะที่ขวดหมดไปหลังจากเราใช้ผ้าเช็ดหยดน้ำออกแล้วไม่มีหยดน้ำเกิดขึ้นอีกครับ ซึ่งกระบวนการที่บอกนี้ใช้เวลาไม่เกิดสองชั่วโมงครับที่เอาวัคซีนมาตั้งข้างนอกครับ ซึ่งมันไม่ได้มีผลต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่น้อยลงไปเลยครับ
โดยถ้าทำได้จะช่วยลดการแพ้วัคซีนได้อย่างมากเลย ดีกว่าเอาออกจากตู้แล้วไปฉีดเลยเพราะจะเกิดภาวะ cold shock ได้ครับ        
ฉีดวัคซีนครั้งแรกตั้งแต่อายุ 4 เดือนถึง 6 เดือน
ฉีดครั้งที่ 2 หลังจากฉีดครั้งแรก 3 - 4 สัปดาห์ และฉีดซ้ำทุก 6 เดือน
ในกรณีที่เกิดโรคระบาด ให้ฉีดวัคซีนซ้ำทันทีทุกตัว
ก่อนใช้ต้องเขย่าขวดให้วัคซีนเข้ากันดีทุกครั้ง
ขนาดฉีด        ตัวละ 2 มล.เข้าใต้ผิวหนัง
ความคุ้มโรค        สัตว์จะมีความคุ้มโรคหลังจากฉีดวัคซีน 3 - 4 สัปดาห์ และมีความคุ้มโรคอยู่ได้นาน 6 เดือน

การเก็บรักษา        เก็บในตู้เย็นอุณหภูมิ 4-6 องศาเซลเซียส ห้ามเก็บในช่องแช่แข็ง ถ้าถามว่าช่องไหนในตู้เย็น คือช่องใต้ช่องฟรีสครับที่เป็นถาดพลาสติกใสจะดีที่สุดถ้าแช่ช่องนั้น
พยายามใช้วัคซีนให้หมดทุกครั้งที่เปิดแล้วเพราะจะทำให้วัคซีนมีประสิทธิภาพที่สุด ควรจัดโปรแกรมฉีดตามที่บอกคือทุกหกเดือนทุกตัวในฟาร์ม ยกเว้นตัวที่อายุไม่ถึงครับ

ข้อควรระวัง        
ควรฉีดวัคซีนก่อนการผสมพันธ์
ควรระวังเรื่องความสะอาดของอุปกรณ์และตำแหน่งที่ฉีด
ในกรณีที่สัตว์แสดงอาการแพ้วัคซีน แก้ไขโดยฉีดแอดรีนาลีน 1:1000 เข้ากล้ามเนื้อ0.5-1 มล. ต่อน้ำหนัก 50 กก.
หรือฉีดเด็กซ่า 0.2 ในแพะโต 5 ซีซี แพะเล็ก 2.5 ซีซี ให้ติดต่อกันสองวัน
หมายเหตุ ในกรณีเกิดภาวะโรคปากและเท้าเปื่อยระบาด ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ทันที

แสดงความคิดเห็น

nucha  แพะท้องแก่ฉีดได้ใหมครับ หมอ  โพสต์เมื่อ 12-1-2015 16:48:34
- จะเกิดมาเป็นคนไปทำไมถ้าไม่ทำให้โลกดีขึ้น -
คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | ลงทะเบียน

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะแห่งประเทศไทย

GMT+7, 5-5-2024 21:34

Powered by Discuz! X2

© 2001-2011 Comsenz Inc.

ขึ้นไปด้านบน