สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะแห่งประเทศไทย

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
แชร์หน้านี้ไปที่ไลน์หรือเฟสบุ๊คได้ทันที คลิ๊กที่ปุ่ม . Share
ดู: 3145|ตอบ: 16
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

[โรค] คลินิกแพะออนไลน์: ความรู้เรื่องโรคบรูเซลโลซิส [คัดลอกลิงก์]

Rank: 4Rank: 4

จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
กระทู้
11
โพสต์
86
วันนี้ อิฉันได้รับคำถามเกี่ยวกับโรค บรูเซลโลซิส
หมอแมว งง ไปสามวิ แล้วก็ไปค้นคำตอบมาให้.. ดังนี้..ค่ะ

สาเหตุและอาการของโรคบรูเซลโลซิสในฟาร์มแพะ-แกะ

เชื้อแบคทีเรียก่อโรค คือ Brucella melitensis สัตว์ได้รับเชื้อ โรคจากสารคัดหลั่ง รกและน้ำเชื้อ โดยเชื้อเข้าทางปาก จมูกหรือตา ทางผิวหนังฉีกขาดหรือการผสมพันธุ์ เชื้อจะอยู่ใน กระแสเลือดในระยะ 10-20 วัน หลังจากได้รับเชื้อและอาจจะอยู่นาน 30-45 วัน สัตว์จะมีการ ตอบสนองทางซีรัมวิทยา โดยจะตรวจพบแอนติบอดีในซีรัมในระยะ 2-4 สัปดาห์และค่อยๆลดลงในบางครั้ง อาจจะไม่พบแอนติบอดี ในสัตว์ที่ตั้งท้องหรือพบแอนติบอดีในตัวสัตว์ไปจนถึงระยะแท้งลูก หรือคลอดลูก สัตว์อาจมีการแท้งลูกหรือไม่แท้งลูกก็ได้ขึ้นกับปริมาณ เชื้อที่มีอยู่ในร่างกาย สัตว์ที่อยู่ในระยะหยุดให้นมจะพบการตอบสนอง ในระดับที่ต่ำหรืออาจจะไม่พบการตอบสนองทางซีรัมวิทยา ปรากฎการณ์ เช่นนี้จะเป็นจุดอันตรายต่อการควบคุมและป้องกันโรค เพราะสัตว์เหล่านี้จะเป็นตัวอมโรคและแพร่โรค ซึ่งในระยะต่อมา จึงจะตรวจพบแอนติบอดีต่อโรค แพะ-แกะที่ติดโรคพบประมาณ 60-84% แท้งลูกเฉพาะการตั้งท้องแรกเท่านั้นแต่สามารถจะปล่อยเชื้อ ออกมาพร้อมกับ สารคัดหลั่ง รกในระยะคลอดลูกได้ในแพะที่เป็นโรคบรูเซลโลซิสมีโอกาสเกิดจากเชื้อ B. abortus ได้ถ้าเลี้ยงแพะร่วมกับโคที่เป็นโรคนี้ แต่โอกาสค่อนข้างน้อย และมักไม่แสดงอาการ

การป้องกันโรคบรูเซลโลซิสในฟาร์มแพะ-แกะ

1. ไม่นำแพะที่เป็นโรคบรูเซลโลซิสหรือแพะที่มาจากฝูงที่เป็น โรคหรือมาจากฝูงที่ไม่เคยทดสอบโรคเข้ามาเลี้ยงในฟาร์ม
2. ทดสอบโรคบรูเซลโลซิสประจำปีอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง
3. กรณีที่พบสัตว์แท้งลูกให้เก็บลูกสัตว์ที่แท้ง รกส่งตรวจเพื่อหา สาเหตุของโรค
4. ปรับปรุงระบบสุขาภิบาลให้เหมาะสมในการป้องกันโรค
5. ใส่ถุงมือป้องกันการติดเชื้อโรคกรณีที่ต้องสัมผัสกับรก น้ำคร่ำหรือสิ่งคัดหลั่งจากระบบสืบพันธุ์
6. ไม่มีการใช้วัคซีนโรคบรูเซลโลซิสในแพะ แกะ

การควบคุมโรคในฟาร์มแพะ-แกะที่ติดโรคบรูเซลโลซิส

1. ไม่ควรเคลื่อนย้ายแพะ แกะ เข้า-ออกฟาร์มจนกว่าจะมั่นใจว่า ไม่มีแพะที่เป็นโรคอยู่ในฝูง
2. กำจัดแพะที่เป็นโรค
- กรณีเปอร์เซ็นต์การเป็นโรคในฝูงต่ำ ให้กำจัดตัวที่เป็นโรค ออกจากฝูงและตัวที่เหลือภายในฟาร์มให้ทดสอบโรคทุก 1-2 เดือน ติดต่อกันเพื่อกำจัดแพะที่ให้ผลบวกทางซีรัมวิทยาออกไปจากฝูงจน กระทั่งไม่พบสัตว์ที่ให้ผลบวกทางซีรัมวิทยาต่อโรคบรูเซลโลซิสในฝูง ติดต่อกัน 3 ครั้ง
- กรณีเปอร์เซ็นต์การเป็นโรคให้ผลบวกทางซีรั่มวิทยาที่มี เปอร์เซ็นต์สูงให้กำจัดแพะทั้งฝูง
3. ทำลายเชื้อโรคในคอกแพะภายหลังกำจัดแพะที่เป็นโรค ออกจากฝูง
4. ทำลายรก น้ำคร่ำที่ถูกขับออกมาในขณะที่แพะคลอด หรือ แท้ง โดยการฝังทันทีที่เห็นและทำลายเชื้อโรค
5. ไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นๆ โดยเฉพาะเด็กเข้าในคอกแพะที่เป็นโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่สัตว์แท้งลูก
6. เกษตรกรผู้ที่สัมผัสกับสัตว์ที่เป็นโรค หรือสงสัยให้รีบปรึกษา แพทย์และแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์เพื่อทดสอบโรคในฟาร์ม


มี 1 ผู้ให้คะแนนแต้ม สะสม ย่อ เหตุผล
kkkn6i + 5 + 5

คะแนนรวม: แต้ม + 5  สะสม + 5   ดูบันทึกคะแนน

Rank: 4Rank: 4

จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
กระทู้
11
โพสต์
86

การวินิจฉัยและชันสูตรโรคในแพะ-แกะ

1. การตรวจทางซีรัมวิทยา
- การคัดกรองโรคใช้วิธี Rose bengal test (RBT) มีวิธีการ แตกต่างจากการตรวจในโคเพื่อเพิ่มความไวในการทดสอบโรค ใช้แอนติเจน Rose Bengal ของสำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์ (ส.ท.ช.) กรมปศุสัตว์ ที่ผลิตจาก B. abortus ชนิดเดียวกับที่ใช้ในโค กระบือ สุกร ตามที่ OIE ให้คำแนะนำ เนื่องจากมีคุณสมบัติของแอนติเจนร่วมกัน ใช้หลักเกณฑ์การทดสอบในโค ซึ่งถ้าหากจะเพิ่มความไวของการทดสอบโรคจะมีการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของซีรั่มที่ใช้ทดสอบโรคจากเดิม 25-30 ไมโครลิตร เป็น 75 ไมโครลิตร และใช้แอนติเจน 25 ไมโครลิตร คนให้ผสมกันดี อ่านผลที่ 4 นาที
- การตรวจยืนยันใช้วิธี Complement fixation test (CFT) ร่วมกับ indirect ELISA (iELISA)

2. การเพาะแยกเชื้อและการตรวจทางชีวโมเลกุล




ขอทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บตัวอย่างและการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
โปรดสอบถาม สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ เกษตรกลาง จตุจักร กรุงเทพฯ 10900
กลุ่มอิมมูนและซีรัมวิทยา โทรศัพท์ 0-2579-8908-14 ต่อ 232, 234, 235 (อัตโนมัติ)




พื้นที่ไม่พอค่ะ เลยต้องห้อยมาเป็น reply 1 แถมมา



แสดงความคิดเห็น

lekhip  รับเลือดจากเกษตรกร รายย่อยหรือเปล่า  โพสต์เมื่อ 24-7-2013 11:37:39

Rank: 3

จังหวัด
นครปฐม
กระทู้
7
โพสต์
161

Rank: 4Rank: 4

G.S.A.
0321
จังหวัด
นราธิวาส
กระทู้
0
โพสต์
314

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย


ขอบคุณ...มีประโยชน์มากคร้าบ
                                      

Rank: 4Rank: 4

G.S.A.
0156
จังหวัด
ศรีสะเกษ
กระทู้
0
โพสต์
491

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

5#
โพสต์เมื่อ 21-7-2013 03:39:04 |แสดงเฉพาะโพสต์ของสมาชิกนี้

Rank: 5Rank: 5Rank: 5

จังหวัด
ลำพูน
กระทู้
6
โพสต์
896
6#
โพสต์เมื่อ 21-7-2013 15:08:29 |แสดงเฉพาะโพสต์ของสมาชิกนี้

Rank: 4Rank: 4

จังหวัด
ไม่มีข้อมูล
กระทู้
4
โพสต์
342
7#
โพสต์เมื่อ 21-7-2013 20:13:53 |แสดงเฉพาะโพสต์ของสมาชิกนี้
ขอบคุณครับ สาระดีๆ

..คอกแพะบ้านสวนพิรดา@ยโสธร..ก้าวไปสู่..มาตรฐานกรมปศุสัตว์..
โทร 08-9719-5833
แฟนเพจ  https://www.facebook.com/BaansuanGoatSheep

Rank: 3

จังหวัด
กาฬสินธุ์
กระทู้
4
โพสต์
196
8#
โพสต์เมื่อ 22-7-2013 09:30:06 |แสดงเฉพาะโพสต์ของสมาชิกนี้
แอนติเจน Rose Bengal  มีขายรึเปล่าครับ

Rank: 9

G.S.A.
0179
จังหวัด
กาญจนบุรี
กระทู้
32
โพสต์
2157

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

9#
โพสต์เมื่อ 23-7-2013 14:51:57 |แสดงเฉพาะโพสต์ของสมาชิกนี้

Rank: 4Rank: 4

จังหวัด
อ่างทอง
กระทู้
8
โพสต์
254
10#
โพสต์เมื่อ 24-7-2013 20:48:08 |แสดงเฉพาะโพสต์ของสมาชิกนี้
ข้อมูลสุดยอดไปเลยครับ

Rank: 5Rank: 5Rank: 5

จังหวัด
ลำพูน
กระทู้
6
โพสต์
896
มีไว้ทำมัยครับ

Rank: 9

G.S.A.
0266
จังหวัด
อุตรดิตถ์
กระทู้
42
โพสต์
2585

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

กำลังเครียดพอดี แพะแท้งสามแม่ ได้อ่านพอมีกำลังใจขึ้นบ้าง เดือนกว่า ๆๆๆ ที่แล้ว 1 แม่ หกวันที่แล้ว 1 แม่ เมื่อวาน  1

แสดงความคิดเห็น

สามพีฟาร์ม  ขอบคุณครับ ครอกแรก 30 แม่ ออกครบปลอดภัย พอมาครอกสองเนี่ยมีปัญหา 3 แม่  โพสต์เมื่อ 7-8-2013 10:30:06
สมเกียรติ  เลิกกินก็ปกติ พวกที่แท้งก็ออกลูกใหม่แล้ว ปกติ  โพสต์เมื่อ 6-8-2013 13:58:51
สมเกียรติ  ของผมเคยแท้งตอนแล้งๆ 5 แม่ สันนิษฐานว่ากินข้าวโพดมัสารป้นเปื้อน  โพสต์เมื่อ 6-8-2013 13:58:02

Rank: 6Rank: 6

G.S.A.
0012
จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์
กระทู้
20
โพสต์
2787

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

13#
โพสต์เมื่อ 10-8-2013 23:14:18 |แสดงเฉพาะโพสต์ของสมาชิกนี้
ต้นฉบับโพสต์โดย doc เมื่อ 20-7-2013 16:45
การวินิจฉัยและชันสูตรโรคในแพะ-แกะ

1. การตรวจท ...

ขอขอบคุณความรู้ที่คุณหมอตะวันนำมาเผยแพร่ให้พวกเราหษตรกรผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทยได้รับทราบครับ
ห้วยเกรียบ ฟาร์มแพะ-แกะ (หน้ายูเทิร์นบ้านห้วยเกรียบ)
ถ.เพชรเกษม กม.394-395  อ.บางสะพาน จ.ประจวบฯ

สมาชิก   - ชมรมผู้เลี้ยงแพะ-แกะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Rank: 6Rank: 6

G.S.A.
0012
จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์
กระทู้
20
โพสต์
2787

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

14#
โพสต์เมื่อ 13-8-2013 09:45:15 |แสดงเฉพาะโพสต์ของสมาชิกนี้
แพะทีรู้ผลการตรวจเลือดว่าผลเป็นบวกนำไปปรบะกอบอารหารได้ไม๊ครับคุณหมอจะมีผลอะไรไม๊ครับ
ห้วยเกรียบ ฟาร์มแพะ-แกะ (หน้ายูเทิร์นบ้านห้วยเกรียบ)
ถ.เพชรเกษม กม.394-395  อ.บางสะพาน จ.ประจวบฯ

สมาชิก   - ชมรมผู้เลี้ยงแพะ-แกะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Rank: 6Rank: 6

G.S.A.
0012
จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์
กระทู้
20
โพสต์
2787

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

15#
โพสต์เมื่อ 19-8-2013 23:47:53 |แสดงเฉพาะโพสต์ของสมาชิกนี้
วันนี้คุณหมอเิดคลีนิกไม๊ครับ
ห้วยเกรียบ ฟาร์มแพะ-แกะ (หน้ายูเทิร์นบ้านห้วยเกรียบ)
ถ.เพชรเกษม กม.394-395  อ.บางสะพาน จ.ประจวบฯ

สมาชิก   - ชมรมผู้เลี้ยงแพะ-แกะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Rank: 4Rank: 4

จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
กระทู้
11
โพสต์
86
16#
โพสต์เมื่อ 24-8-2013 23:23:00 |แสดงเฉพาะโพสต์ของสมาชิกนี้
มาตอบคำถาม
๑. ปศุสัตว์ประจำท้องที่ มีหน้าที่รับแจ้งและเก็บเลือดจากฟาร์มเกษตรกรไปตรวจ ดังนั้น ไม่ว่ารายย่อยรายใหญ่ ต้องรับทุกราย ค่ะ

๒. แอนติเจน Rose Bengal ไม่มีวางขายตามท้องตลาดค่ะ

๓. แพะที่มีผลเลือดเป็นบวก ต้องถูกทำลายทุกตัว เนื่องจากเป็นโรคระบาดที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ หากฟาร์มไหนมีเลือดบวกมากกว่า ๕ ตัว จะต้องทำลายแพะทุกตัวในฟาร์ม เพราะมีเหตุให้เชื่อได้ว่าตัวอื่นๆ มีโอกาสได้รับเชื้อแล้วแต่อาจอยู่ในระยะฟักตัวจึงตรวจเลือดได้ผลลบ

๔. ซากแพะที่มีเลือดบวก (ตามหลักวิชาการ) นำมาประกอบอาหารได้ภายใต้เงื่อนไขต้องปรุงสุกด้วยความร้อนที่สูงมากพอ และใช้เวลานานพอ แต่ อย่าลืมว่าการชำแหละซาก จะมีเลือด เมือก น้ำเหลือง น้ำลาย และของเหลวต่างๆ จากซากแพะเปรอะเปื้อน ทำให้ผู้ชำแหละซากเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และพื้นดิน น้ำล้างจะกระจายเชื้อออกไปสู่สภาพแวดล้อม
ดังนั้น สรุปว่า ไม่ควรไปยุ่งกับซาก หรือแม้แต่แพะที่มีชีวิต ที่มีเลือดบวก ยังไงตอนนี้ก็มีค่าชดเชยคืนมาบ้าง
เนื่องจากประเทศไทยยังมีอัตราการระบาดโรคต่ำมาก จึงใช้มาตรการควบคุมโรคโดย ทางราชการจะทำลายแพะที่มีเลือดบวก และจ่ายเงินชดเชยให้  หากการแพร่ระบาดเกิดขึ้นในลักษณะ pandemic จริง มาตรการจะเปลี่ยนไป รัฐคงไม่จ่ายเงินชดเชยให้เกษตรกรอีกต่อไปแต่จะริบซากอย่างเดียว...อยากให้ถึงวันนั้นกันไหม?

Rank: 9

G.S.A.
0179
จังหวัด
กาญจนบุรี
กระทู้
32
โพสต์
2157

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

17#
โพสต์เมื่อ 25-8-2013 11:44:14 |แสดงเฉพาะโพสต์ของสมาชิกนี้
คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | ลงทะเบียน

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะแห่งประเทศไทย

GMT+7, 19-5-2024 08:13

Powered by Discuz! X2

© 2001-2011 Comsenz Inc.

ขึ้นไปด้านบน