สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะแห่งประเทศไทย

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
แชร์หน้านี้ไปที่ไลน์หรือเฟสบุ๊คได้ทันที คลิ๊กที่ปุ่ม . Share
ดู: 1709|ตอบ: 2
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

[ทั่วไป] ทิศทางตลาด จากปี 55 สู่ปี 56 [คัดลอกลิงก์]

Rank: 4Rank: 4

จังหวัด
กำแพงเพชร
กระทู้
28
โพสต์
596
เทคโนฯ ปศุสัตว์
ธนสิทธิ์ เหล่าประเสริฐ
เผย ตลาด แพะ-แกะ ระอุ ทั้งราคาพุ่งและขาดแคลน
“สร้างคนสร้างชาติด้วยการเลี้ยงแพะ-แกะ”
เป็นหัวข้อการเสวนาที่กลุ่มเกษตรกรพัฒนาแพะ-แกะ จังหวัดสระบุรี ได้ร่วมกับองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสระบุรี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จัดขึ้นในงานประกวดแพะ-แกะ สระบุรี ครั้งที่ 4 ขึ้น ณ ลานประกวดโคนม องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี

สาระสำคัญประเด็นหนึ่งที่มีการพูดกันอย่างกว้างขวางในวงสัมมนาคือ ความต้องการของตลาด ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนส่งให้ในขณะนี้ปริมาณแพะ-แกะ ที่มีการเลี้ยงในประเทศไทยนั้นคาดว่าจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งเห็นได้ในเวลานี้ราคาแพะ-แกะ ที่จำหน่ายในท้องตลาดมีราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และปริมาณยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด
โดย คุณเชาวรัตน์ อ่ำโพธิ์ ประธานกลุ่มเกษตรกรพัฒนาแพะ-แกะ จังหวัดสระบุรี กล่าวว่า ในปัจจุบันการเลี้ยงแพะ-แกะ นั้น ได้รับความสนใจจากเกษตรกรและมีการขยายการเลี้ยงทั่วไปทุกภูมิภาคของประเทศ และที่น่าสนใจคือ ราคาแพะ-แกะ ที่เกษตรกรจำหน่ายนั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
“แต่สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้เกษตรกรสามารถก้าวไปสู่ความสำเร็จนั้นคือ การพัฒนารูปแบบการเลี้ยง ที่จะต้องก้าวไปสู่การเลี้ยงแบบฟาร์มปลอดโรค การที่เกษตรกรสามารถได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์ว่า เป็นฟาร์มปลอดโรคจะทำให้สามารถส่งแพะ-แกะ ไปจำหน่ายในตลาดหลักอย่างภาคใต้ได้ง่ายมากขึ้น”
“และอนาคตของแพะ-แกะนั้น ที่สำคัญเมื่อประเทศไทยมีการเปิดการค้าเสรีมากขึ้นจะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรเป็นอย่างยิ่ง เพราะทำให้สามารถส่งออกได้เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น กล่าวได้ว่า แพะ-แกะนั้นเป็นสัตว์ที่มีอนาคตอย่างมาก”
ในส่วนของตลาดต่างประเทศนั้น ผลจากการเปิดการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ คุณเชาวรัตน์ กล่าวเสริมว่า จะเป็นผลดีแก่เกษตรกรอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้สามารถส่งออกได้มากขึ้น เพราะในปัจจุบันความต้องการของตลาดต่างประเทศ อย่างมาเลเซียนั้นมีความต้องการสูงมาก แต่สิ่งที่เกษตรกรต้องทำเพื่อรองรับตลาดต่างประเทศคือ ต้องทำให้เป็นฟาร์มปลอดโรคและมีการรวมกลุ่มกัน เพื่อให้มีจำนวนแพะเพียงพอต่อการส่งออก ทั้งมีชีวิตและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
“วันนี้ กล่าวได้เลยว่า แพะขาดตลาดเป็นอย่างมาก ซึ่งต่างประเทศนั้นต้องการแพะที่มีชีวิตเป็นจำนวนมาก แต่ยังไม่มีปริมาณแพะในประเทศเพียงพอที่จะส่งออก จึงเป็นโอกาสดีของเกษตรกรที่จะมองหาอาชีพและการสร้างรายได้ด้วยการเลี้ยงแพะส่งจำหน่าย”
การที่จะทำฟาร์มให้ประสบความสำเร็จนั้น สิ่งสำคัญคือ จะต้องเลี้ยงแพะให้ตรงตามความต้องการของตลาด เช่น แพะเพศผู้จะต้องอ้วน อีกประการคือ ต้องมีการพัฒนาสายพันธุ์ควบคู่ไปกับการตลาด และที่สำคัญอีกประการคือ ต้องมีองค์ความรู้ ซึ่งในส่วนของชมรมนั้น ได้มีการร่วมกับหน่วยงานราชการต่างๆ ในการอบรมให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง  สำหรับตลาดใหญ่ของแพะในเวลานี้จะเป็นตลาดของคนมุสลิมในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งต้องการแพะเพื่อนำไปใช้ในพิธีกรรมและความเชื่อต่างๆ ทางศาสนา แต่การจะเลี้ยงแพะเพื่อจำหน่ายในตลาดดังกล่าวนั้น เกษตรกรต้องเลี้ยงแพะให้ได้อายุ 1 ปี และแพะมีความสมบูรณ์ เช่น ตาไม่บอด ขาไม่หัก หูไม่ฉีก เป็นต้น ส่วนแพะตัวเมียต้องเป็นแพะที่ไม่ตั้งท้อง

ไม่มีคำว่าทำไม่ได้

Rank: 4Rank: 4

จังหวัด
สตูล
กระทู้
5
โพสต์
135
สำหรับตลาดใหญ่ของแพะในเวลานี้จะเป็นตลาดของคนมุสลิมในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งต้องการแพะเพื่อนำไปใช้ในพิธีกรรมและความเชื่อต่างๆ ทางศาสนา แต่การจะเลี้ยงแพะเพื่อจำหน่ายในตลาดดังกล่าวนั้น เกษตรกรต้องเลี้ยงแพะให้ได้อายุ 1 ปี และแพะมีความสมบูรณ์ เช่น ตาไม่บอด ขาไม่หัก หูไม่ฉีก เป็นต้น ส่วนแพะตัวเมียต้องเป็นแพะที่ไม่ตั้งท้อง

   จริงๆแล้วแพะที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนานั้น ไม่จำเป็นต้องอายุ 1 ปี
หรอกครับ เอาแค่มีความสมบูรณ์ สวย  ก็ใช้ได้แล้วครับ  

แสดงความคิดเห็น

สหรักษ์ฟาร์ม  คุณชัยยศราคาแพะ/แกะทางใต้มีแนวเป็นอยางไรครับ  โพสต์เมื่อ 1-5-2013 21:41:31
ชัยยศ 087-2750044   (G.S.A.0044)
ID line: mr.chaiyot
chaiyot.kot@gmail.com

Rank: 4Rank: 4

G.S.A.
0150
จังหวัด
เชียงใหม่
กระทู้
6
โพสต์
177

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

แกะผู้ทำพิธีได้ไหมครับ
G.S.A.150 086-6737891 086-7308607
คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | ลงทะเบียน

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะแห่งประเทศไทย

GMT+7, 5-5-2024 18:51

Powered by Discuz! X2

© 2001-2011 Comsenz Inc.

ขึ้นไปด้านบน