สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะแห่งประเทศไทย

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
แชร์หน้านี้ไปที่ไลน์หรือเฟสบุ๊คได้ทันที คลิ๊กที่ปุ่ม . Share
ดู: 5632|ตอบ: 6
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

[อาหาร] มิโมซีนในกระถิน รวบรวมข้อมูลจากบทความต่างๆ [คัดลอกลิงก์]

Rank: 6Rank: 6

G.S.A.
0001
จังหวัด
ฉะเชิงเทรา
กระทู้
103
โพสต์
3524

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

มิโมซีนในกระถิน รวบรวมข้อมูลจากบทความต่างๆสารพิษ Mimosine ( ไมโมซีน / มิโมซีน ) ในกระถินMimosine เป็นสารพิษที่พบในกระถินทุกพันธุ์ โดยพบสารพิษชนิดนี้เป็นปริมาณมากในใบอ่อน และเมล็ดกระถิน นอกจากนั้น ยังพบสารพิษมิโมซีนในพืชตระกูลใกล้เคียงกับกระถิน เช่น ไมยราบพื้นเมือง เป็นต้น
          มิโมซีน เป็นพิษต่อสัตว์กระเพาะเดี่ยว เช่น ไก่เป็ด ห่าน สุกร ม้า กระต่าย และเป็นพิษต่อสัตว์เคี้ยวเอื้องทุกชนิด เช่นโค กระบือ แพะ แกะ อย่างไรก็ตามสัตว์เคี้ยวเอื้องและสัตว์ที่มีขนาดตัวโตจะแสดงอาการแพ้สารพิษน้อยกว่าสัตว์ขนาดเล็ก เมื่อสัตว์กินพืชอาหารสัตว์ที่มีมิโมซีนปริมาณมาก สารมิโมซีนจะทำให้การย่อยอาหารของสัตว์ผิดปกติ สัตว์มักจะมีต่อมไทรอยด์โต เป็นคอหอยพอกและอาจจะตายได้ สัตว์ที่โตแล้วหากงดอาหารที่มีสารมิโมซีน สัตว์จะค่อย ๆ หายเป็นปกติ
          กระถินแต่ละพันธุ์มีปริมาณสารมิโมซีนไม่เท่ากัน บางชนิดใช้เลี้ยงสัตว์ได้โดยไม่เป็นอันตราย ข้อสำคัญคือต้องจำกัดปริมาณ โดยไม่ให้สัตว์ได้รับสารพิษปริมาณมาก ๆ ติดต่อกัน การใช้กระถินเลี้ยงสัตว์นั้น ควรจำกัดปริมาณดังนี้
           - อาหารสุกร ใช้กระถินไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์
           - อาหารสัตว์ปีก ใช้กระถินไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์
           - อาหารโค-กระบือ ใช้กระถินไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์
การลดปริมาณสารพิษมิโมซีนก่อนนำมาเลี้ยงสัตว์ ทำได้หลายวิธีคือ
   1. ตากใบกระถินเป็นเวลา 1 - 3 วัน ลดปริมาณสารมิโมซีนได้ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์
   2. นำใบกระถินไปนึ่ง 1 - 3 ชั่วโมง ลดปริมาณสารมิโมซีนได้ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์
   3. นำใบกระถินไปแช่น้ำ 24 ชั่วโมง ลดปริมาณสารมิโมซีนได้ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์
   4. เพิ่มฟอสเฟตในสูตรอาหารสัตว์ ทำให้พิษของมิโมซีนลดลง
ข้อมูลจาก......เอกสารคำแนะนำเรื่อง สารพิษในพืชอาหารสัตว์ กลุ่มงานวิเคราะห์อาหารสัตว์ กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ ปี พ.ศ. 2538
Mimosine ( มิโมซีน / ไมโมซีน ) ความเป็นพิษของมิโมซีนเกิดขึ้น เนื่องจากจะไปยับยั้งการสร้างฮอร์โมนไทร๊อกซีน (Thyroxine) ทำให้ต่อมไทรอยด์ขยายใหญ่ เกิดเป็นโรคคอหอยพอก
          พืชอาหารสัตว์ที่พบสารมิโมซีนสูง ได้แก่ กระถิน (Leucaena spp.) ทุกพันธุ์ ไมยราบพื้นเมือง (Mimosa pudica) ในกระถินจะพบมิโมซีนมากในใบและเมล็ด โดยพบในใบอ่อนมากกว่าใบแก่สำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้องสามารถใช้ใบกระถินได้ถึง 50 เปอร์เซนต์ ของอาหารสัตว์สุกร ในอาหารสัตว์ปีกไม่ควรเกิน 5 เปอร์เซนต์ ในอาหารสุกรไม่ควรเกิน 10 เปอร์เซนต์ และอาหารโคไม่ควรเกิน 50 เปอร์เซนต์
          อาการของสัตว์มี่เกิดจากสารพิษมิโมซีน ในสัตว์เคี้ยวเอื้องมิโมซีนมีผลทำให้ประสิทธิภาพการย่อยเยื่อใยของแบคทีเรียในกระเพาะรูเมนลดลงทำให้สัตว์เจริญเติบโตช้า ส่วนในสัตว์กระเพาะเดี่ยว เช่น ม้า สุกร เป็ด ไก่ กระต่าย จะมีอาการขนร่วง ทั้งนี้เพราะมิโมซีนไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์บางตัวจึงเป็นสาเหตุทำให้ขนร่วง
ข้อมูลจาก......เอกสารคำแนะนำเรื่อง สารพิษในพืชอาหารสัตว์ หมวดความรู้ด้านอาหารสัตว์ ในเวบไซต์กรมปศุสัตว์
พิษของมิโมซินกับพืชอาหารสัตว์
          การผลิตสัตว์ให้ได้คุณภาพที่ดีนั้น ปัจจัยที่สําคัญมีหลายอย่างคือทั้งพันธุ์สัตว์ และอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ เมื่อ สัตว์ได้รับอาหารที่มีคุณภาพดี ก็จะทําให้สัตว์มีสุขภาพดี และให้ผลผลิตสูง แต่ถ้าสัตว์ได้รับอาหารที่มีคุณภาพต่ำ ก็จะ ส่งผลถึงปัญหาด้านสุขภาพ ทําให้ได้ผลผลิตต่ำ และยังเป็นการเพิ่มต้นทุนในการผลิตอีกด้วย พืชอาหารสัตว์บางชนิด ถึงแม้จะมีคุณค่าทางโภชนะสูง แต่มีขีดจํากัดในการนํามาใช้ประโยชน์ เนื่องจากพืชเหล่านี้มีสารพิษสะสมอยู่ เช่นมี สารมิโมซินในกระถิน สารไนเตรท ไนไตรท์ ในผักโขม เป็นต้น(กอบแก้ว,2535)
          มิโมซิน เป็นสารพิษที่เกิดในธรรมชาติ เป็นสารพิษพวกกรดอะมิโนที่อยู่เป็นอิสระ ไม่ได้รวมอยู่กับ คาร์โบไฮเดรต หรือไม่ได้รวมกันเป็นโปรตีน สังเคราะห์ได้จากกรดอะมิโนไลซิน มิโมซินมีชื่อทางเคมี B-(N-(3- hydroxy-4-oxopyridyl) amino propionic acid) มิโมซินจะสลายตัวไปเป็น 3,4-dihydroxyl pyridine หรือ DHP กับเซรีน หรือกรดไพรูวิค และแอมโมเนีย มิโมซินจะถูกย่อยสลายได้ด้วยกรดเกลือเจือจาง พบมากในกระถิน ทุกสายพันธุ์ โดยพบสารพิษชนิดนี้เป็นปริมาณมากในใบและเมล็ด ซึ่งใบอ่อนจะมีมิโมซินมากกว่าใบแก่ นอกจากนี้ ยัง พบสารพิษมิโมซินในพืชตระกูลใกล้เคียงกับกระถิน เช่น ไมยราบพื้นเมือง เป็นต้น
ความเป็นพิษของมิโมซิน
          มิโมซินจะมีผลทั้งสัตว์กระเพาะเดี่ยวเช่น ไก่ เป็ด สุกร ม้า กระต่าย และสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ สําหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง ภายในกระเพาะรูเมนมีแบคทีเรียที่สามารถเปลี่ยนมิโมซินให้เป็น DHP ซึ่งเมื่อถูกดูดซึม เข้าสู่กระแสเลือดจะมีผลต่อต่อมไทรอยต์ทําให้การผลิตฮอร์โมนไทรอกซิน(Thyroxine)น้อยลง เป็นผลให้ต่อมไท รอยต์ขยายตัว ทําให้เกิดโรคคอหอยพอก นอกจากนี้ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง มิโมซินยังส่งผลทําให้ประสิทธิภาพการย่อยเยื่อ ใยของแบคทีเรียในกระเพาะรูเมนลดน้อยลง ทําให้สัตว์เจริญเติบโตช้า สําหรับสัตว์กระเพาะเดี่ยว พบว่าจะมีอาการ ขนร่วง ทั้งนี้เพราะมิโมซินไปยับยั้งการทํางานของเอนไซม์บางตัวจึงเป็นสาเหตุทําให้ขนร่วง แต่สัตว์ที่แสดงอาการ เป็นพิษของมิโมซินจะไม่ตาย และหากมีการงดอาหารที่มีมิโมซิน อาการเป็นพิษก็จะจางหายไปเอง แต่ในสัตว์แรกเกิด ถ้าได้รับสารนี้มากเกินไปอาจตายได้ ดังนั้นอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ทั่วๆไป เช่นอาหารสุกร โค กระบือ แพะ แกะ หรือไก่ การใช้กระถินเป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์ควรมีปริมาณที่จํากัด
การลดปริมาณมิโมซินในใบกระถินก่อนนํามาเลี้ยงสัตว์ เช่น
          1. การตากใบกระถิน 1-3 วัน จะทําให้ลดปริมาณมิโมซินลงประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์
          2. การนึ่งใบกระถิน 1-3 ชั่วโมงจะทําให้ลดปริมาณมิโมซินลงประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์
          3. นําใบกระถินแช่น้ำ 24 ชั่วโมง จะทําให้ลดปริมาณมิโมซินลงประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์
          4. การเพิ่มเฟอรัสซัลเฟตในสูตรอาหารที่มีใบกระถินเป็นส่วนประกอบ จะทําให้ลดปริมาณมิโมซินลงได้ โดยสาร มิโมซิน สามารถรวมตัวกับธาตุเหล็กใน gastrointestinal tract
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปริมาณสารพิษ ความรุนแรง และอันตรายที่จะเกิดกับสัตว์ ได้แก่
          1. ชนิดของพืชอาหารสัตว์ พบว่าพืชอาหารสัตว์บางชนิดมีสารพิษที่เป็นอันตรายกับสัตว์ไม่ควรนํามาเลี้ยงสัตว์ พืชอาหารสัตว์ชนิดเดียวกันแต่มีประมาณสารพิษแตกต่างกัน
          2. อายุของพืชอาหารสัตว์ พบว่าพืชส่วนใหญ่จะมีปริมาณสารพิษมากในระยะต้นอ่อน หรือระยะที่กําลัง เจริญเติบโต แต่เมื่อโตเต็มที่แล้วปริมาณสารพิษจะลดลง
          3. การให้ปุ๋ยพืชอาหารสัตว์ พบว่าพืชชนิดเดียวกันถ้ามีการใช้ปุ๋ยเพื่อเร่งการเจริญเติบโตให้พืชโตเร็ว มักมี ปริมาณสารพิษมากขึ้นด้วย
          4. วิธีการนําพืชอาหารสัตว์มาเลี้ยง การนําพืชสดมาเลี้ยงสัตว์ มีความเสี่ยงต่อสารพิษค่อนข้างมาก เนื่องจากพืช สดมีปริมาณสารพิษมากกว่าพืชที่ผ่านกรรมวิธีต่างๆเช่น การตากแห้ง การแช่น้ำ
          5. ปริมาณที่สัตว์กิน ถ้าสัตว์กินพืชอาหารสัตว์ที่มีสารพิษในปริมาณมากๆจะทําให้สัตว์ได้รับสารพิษเข้าสู่ ร่างกายมาก แต่ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของสัตว์ด้วย เช่นในพืชที่มีสารพิษสูงๆ ถ้าสัตว์ที่มีน้ำหนักตัวมากกินใน ปริมาณน้อยๆก็ไม่เป็นอันตราย แต่ถ้าพืชบางชนิดมีปริมาณสารพิษน้อย แต่สัตว์กินเข้าไปในปริมาณมากก็ อาจเป็นพิษกับสัตว์ได้
ข้อมูลจาก......เอกสารเรื่องพิษของมิโมซินกับพืชอาหารสัตว โดย จุรีรัตน์ เงินแดง และ สุพิดา วัฒนนาวิน
ว.อุดมทรัพย์ฟาร์มแพะบอร์เลือดร้อยที่แปดริ้วG.S.A.0001
ผู้นำเข้าแพะ-แกะสายเลือดแชมม์โลกจากแอฟริกา
และตัวแทนจัดจำหน่าย สายพันธุ์ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
udomsub.v@gmail.com  AIS 081-687-8607

Rank: 5Rank: 5Rank: 5

G.S.A.
0026
จังหวัด
ฉะเชิงเทรา
กระทู้
16
โพสต์
502

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

ข้อมูลมีประโยชน์มากๆครับ....
จำหน่ายแพะเนื้อ แกะเนื้อ,แพะแกะป้อนม,และรับออกงาน Eventติดต่อ :สุรชาติฟาร์มแพะ-แกะ ถ.331 ก.ม.107-108
ซ.วัดวังกะจะ600 ม. อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา
โทร 081-0019877 E-mail:gsa26@hotmail.co.th
www.facebook.com/สุรชาติฟาร์มแพะแกะแปลงยาวฉะเชิงเทรา

Rank: 8Rank: 8Rank: 8Rank: 8

G.S.A.
0138
จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์
กระทู้
0
โพสต์
72

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

ผมเคยอ่านเจองานวิจัยของฝรั่งซึ่ง่เขาบอกว่าในแพะนี้จะมีสารยับยั้งสารพิษมิโมซินดั่งนั้นจึงสามารถนำกระถินมาเลี้ยงได้โดยไม่มีปัญหา ผิดถูกอย่างไรชี้แนะด้วยครับ

Rank: 6Rank: 6

G.S.A.
0001
จังหวัด
ฉะเชิงเทรา
กระทู้
103
โพสต์
3524

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

ต้นฉบับโพสต์โดย sakareeya เมื่อ 16-5-2012 08:06
ผมเคยอ่านเจองานวิจัยของฝรั่งซึ่ง่เขาบอกว่าในแพะนี้ ...

ผมไม่ทราบเรื่องวิชาการเลยครับ แต่เท่าที่ผมได้ศึกษาจากข้อมูลต่างๆพอทราบมาว่าสารพวกนี้แพะกินครั้งแรกให้กินจากน้อยไปก่อนแพะจะสร้างภูมิคุ้มกันสร้างสารต้านเพิ่มขึ้นเพื่อต้านกันครับ

แต่ที่ฟาร์มผมแพะตอนนี้กินกระถินเพียงอย่างเดียวเลยครับ
ว.อุดมทรัพย์ฟาร์มแพะบอร์เลือดร้อยที่แปดริ้วG.S.A.0001
ผู้นำเข้าแพะ-แกะสายเลือดแชมม์โลกจากแอฟริกา
และตัวแทนจัดจำหน่าย สายพันธุ์ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
udomsub.v@gmail.com  AIS 081-687-8607

Rank: 6Rank: 6

G.S.A.
0001
จังหวัด
ฉะเชิงเทรา
กระทู้
103
โพสต์
3524

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

5#
โพสต์เมื่อ 17-5-2012 09:11:19 |แสดงเฉพาะโพสต์ของสมาชิกนี้
เดิมทีวิวัฒนาการด้านอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องยังไม่ค่อยพัฒนาเท่าไร การใช้สูตรอาหารสัตว์จึงอิงของสัตว์กระเพาะเดี่ยวแม้แต่ในเรื่องของกระถิน จนอยู่มาวันนึงฝรั่งตาน้ำข้าวดันไปเห็นควายที่เกาะฮาวายมันดันกินกระถินเพียวๆ ได้ ฝรั่งเลยตกกะใจ ว่า โอ้มายกอต ! ... มันน่าแปลกใจอะไรกันนี่ ควายมานกินปายดายอย่างรายโอ้ว... จากนั้นฝรั่งก็ทำการวิจัยแล้วก็ค้นพบว่าในควายมันมีน้ำย่อยที่สามารถทำลายหรือลดพิษของสารไมโมซินนี้ได้ ถ้าจำไม่ผิดมันก็ชื่อเดียวกับฝรั่งคนนี้แหละ ดร.ไซโนจีเนส จากนั้นจึงมีการศึกษาอย่างจริงจัง เช่นเดียวกับในเมืองไทยที่มีการเจาะกระเพาะของสัตว์เคี้ยวเอื้องก็พบว่ามีเจ้าน้ำย่อยหรือเอนไซน์ตัวนี้อยู่ในสัตว์พื้นเมืองของไทยเราเช่นกัน จบเรื่องเล่า   
ว.อุดมทรัพย์ฟาร์มแพะบอร์เลือดร้อยที่แปดริ้วG.S.A.0001
ผู้นำเข้าแพะ-แกะสายเลือดแชมม์โลกจากแอฟริกา
และตัวแทนจัดจำหน่าย สายพันธุ์ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
udomsub.v@gmail.com  AIS 081-687-8607

Rank: 7Rank: 7Rank: 7

จังหวัด
นนทบุรี
กระทู้
13
โพสต์
417
6#
โพสต์เมื่อ 17-5-2012 09:18:57 |แสดงเฉพาะโพสต์ของสมาชิกนี้
เดิมทีวิวัฒนาการด้านอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องยังไม่ค่อยพัฒนาเท่าไร การใช้สูตรอาหารสัตว์จึงอิงของสัตว์กระเพาะเดี่ยวแม้แต่ในเรื่องของกระถิน จนอยู่มาวันนึงฝรั่งตาน้ำข้าวดันไปเห็นควายที่เกาะฮาวายมันดันกินกระถินเพียวๆ ได้ ฝรั่งเลยตกกะใจ ว่า โอ้มายกอต ! ... มันน่าแปลกใจอะไรกันนี่ ควายมานกินปายดายอย่างรายโอ้ว... จากนั้นฝรั่งก็ทำการวิจัยแล้วก็ค้นพบว่าในควายมันมีน้ำย่อยที่สามารถทำลายหรือลดพิษของสารไมโมซินนี้ได้ ถ้าจำไม่ผิดมันก็ชื่อเดียวกับฝรั่งคนนี้แหละ ดร.ไซโนจีเนส จากนั้นจึงมีการศึกษาอย่างจริงจัง เช่นเดียวกับในเมืองไทยที่มีการเจาะกระเพาะของสัตว์เคี้ยวเอื้องก็พบว่ามีเจ้าน้ำย่อยหรือเอนไซน์ตัวนี้อยู่ในสัตว์พื้นเมืองของไทยเราเช่นกัน ( เป็นเรื่องราวที่เคยอ่านเจอเมื่อหลายปีก่อนเลยเก็บมาเล่าสู่กันฟังครับ ) ปล.แล้วทำไมมันไปลงของพี่วสันต์ล่ะครับ

แสดงความคิดเห็น

dejasaang  โอ้...หมอบอยมาแล้ว เยี่ยมเลยครับ  โพสต์เมื่อ 17-5-2012 18:21:56
v.udomsub  ผมก็งงงงงงอยู่ครับได้แต่ถามตัวเองว่าวันนี้ยังไม่มีเวลาเข้าเน็ตเลย  โพสต์เมื่อ 17-5-2012 17:32:06

Rank: 5Rank: 5Rank: 5

G.S.A.
0125
จังหวัด
สุโขทัย
กระทู้
18
โพสต์
805

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

7#
โพสต์เมื่อ 17-5-2012 17:05:21 |แสดงเฉพาะโพสต์ของสมาชิกนี้
จันทราฟาร์ม สุโขทัย
งานหนักไม่เคยฆ่าคน
  0939544955
คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | ลงทะเบียน

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะแห่งประเทศไทย

GMT+7, 6-5-2024 18:26

Powered by Discuz! X2

© 2001-2011 Comsenz Inc.

ขึ้นไปด้านบน