สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะแห่งประเทศไทย

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
แชร์หน้านี้ไปที่ไลน์หรือเฟสบุ๊คได้ทันที คลิ๊กที่ปุ่ม . Share
เจ้าของ: v.udomsub
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

[ภาคตะวันออก] ว.อุดมทรัพย์ฟาร์มแปดริ้วแพะบอร์พันธุ์แท้จากแอฟริกา   [คัดลอกลิงก์]

Rank: 2Rank: 2

จังหวัด
ไม่มีข้อมูล
กระทู้
2
โพสต์
21
ขอบคุณมากครับพี่ เข้าเวบแพะก็เลยดูแต่แพะครับ
แล้วเวลาจะเอาไปประกวดต้องฝึกนานไหมครับ
ทั้งอาบน้ำ ฯลฯ

Rank: 6Rank: 6

G.S.A.
0001
จังหวัด
ฉะเชิงเทรา
กระทู้
103
โพสต์
3524

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

จริงๆแล้วต้องฝึกเหมือนวัวสร้างความคุ้นเคยระหว่างสัตว์กับคนและผู้เลี้ยงผู้ดูแลเพื่อว่าเวลาประกวดจะต้องจูงเดินและกรรมการจะมีคะแนนความเชื่องให้ด้วย5คะแนนครับ
แต่ณ.ปัจจุบันการตัดสินมีหลากหลายรูปแบบมากจนผู้นำแพะ-แกะไปประกวดงงกันบ้างมึนกันบ้างกับผลการตัดสินเพราะกรรมการแต่ละท่านแต่ละภาคตัดสินไม่เหมือนกันครับ
ด้วยเหตุนี้ทางสมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทยจึงได้ดำเนินการประสานงานติดต่อไปทางศูนย์บำรุงพันธุ์ที่เทพา จ.สงขลา ขอความร่วมมือไปยังหน่วยงานขอให้ทางศูนย์อบรมหลักสูตรผู้ตัดสินการประกวดแพะ-แกะให้กับเจ้าหน้าที่ของสมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทยในเดือนสิงหาคม 2555นี้(ยังไม่ได้กำหนดวัน)
ซึ่งทางสมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทยจะได้ผลักดันออกกฏระเบียบเกณฑ์การตัดสินให้เป็นกติกาเกณฑ์การตัดสินของทางสมาคมและใช้ตัดสินในสนามประกวดต่างๆผู้ที่นำแพะเข้าประกวดหรือผู้ที่สนใจได้รับฟังคำบรรยายจุดดีจุดด้อยของตัวแพะที่ถูกต้องแล้วจะพัฒนาพันธุ์จะได้ไม่หลงทางและรับรู้กติกาไปในทิศทางเดียวกันครับ
ยกตัวอย่างกติกาเด่นๆคือ
1.ไข่ของแพะตัวผู้ต้องเท่ากัน
2.นมของแพะตัวเมียต้องมีแค่2เต้าเท่านั้น
ถ้าไม่มี2อย่างนี้อยู่ในตัวไม่ต้องเอาเข้ามาประกวดให้เสียเวลา(ที่ผ่านมาบางสนามกติกานี้ไม่เหมื่อนกันทำให้ผู้นำแพะเข้าประกวดงงในสิ่งนี้)
หลักเกณฑ์ในการตัดสินประกวดแพะ
ลักษณะหลักเกณฑ์ในการพิจารณา

คะแนน

เพศผู้

เพศเมีย

สายพันธุ์

ตรงตามลักษณะพันธุ์

10

10

ลักษณะทั่วไป

สดชื่น แข็งแรง รูปร่างได้สัดส่วน  ผิวหนัง ขนเป็นมัน  

5

5

อารมณ์

มีอาการตื่นตัว และมีความเชื่อง

5

5

ส่วนหัว

ความยาวของหัวปานกลาง หน้าผากกว้าง

88

เพศผู้ ดูแข็งแรง เพศเมียมองดูนุ่มนวล

ริมฝีปากปิดสนิท ฟันไม่ยื่นออกนอกปาก นัยน์ตาแจ่มใส

คอ

ยาวได้รูปเชื่อมกับส่วนหัวและบ่าอย่างเหมาะสม

33

ในเพศผู้ต้องมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงและหนา

ร่างกายส่วนหน้า

กล้ามเนื้อสันคอเห็นชัด ไหล่ราดรับกับลำตัว

1510

สันหลังตรงและแข็งแรง

ส่วนลำตัว

ท้องกว้างขยาย กล้ามเนื้อแข็งแรง หลังตรงและแข็งแรง

1414

สะโพก อก กลมใหญ่ และลึก ซี่โครงกว้างแบน

ส่วนสันกว้างและได้ระดับ  ส่วนหัวนมพัฒนาเป็นอย่างดี

ร่างกายส่วนหลัง

สะอาดและแข็งแรง ก้นกบกว้าง โคนขาหลังกว้างและลึก

15

10

ขา

แข็งแรงและตรงรับน้ำหนักตัวได้ดี สะอาดปราศจากฝุ่นหรือโคลน ข้อเท้าขนาดพอดีและมีความยืดหยุ่น

55

กีบตัดแต่งเรียบร้อย การเดินลักษณะตรงทาง

เต้านม

พัฒนาตามอายุ ไม่ห้อยยาน เต้านมมีลักษณะสมมาตร

020

เกาะติดกับฐานดีและค่อนไปข้างหลัง  ประกอบด้วย

เนื้อเยื่อที่อ่อนนุ่ม มีเส้นเลือดบริเวณเต้านมจำนวนมาก

หัวนม

ตั้งอยู่ในที่เหมาะสมกับตัวเต้านม ขนาดยาวและใหญ่พอประมาณที่จะกำได้สะดวก (6-8 ซม.)

0

5

ขนาด/น้ำหนัก

เป็นไปตามสายพันธุ์ อายุ และเพศ

5

5

พ่อพันธุ์

อัณฑะสมบูรณ์ทั้ง 2 ข้าง อวัยวะเพศมีสัดส่วนเหมาะสม แสดงอาการสนใจเพศตรงข้าม พร้อมขึ้นแม่พันธุ์ที่เป็นสัด

15

0

รวม

100

100

รูปภาพ แสดงลักษณะส่วนต่าง ๆ ของร่างแพะ
ว.อุดมทรัพย์ฟาร์มแพะบอร์เลือดร้อยที่แปดริ้วG.S.A.0001
ผู้นำเข้าแพะ-แกะสายเลือดแชมม์โลกจากแอฟริกา
และตัวแทนจัดจำหน่าย สายพันธุ์ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
udomsub.v@gmail.com  AIS 081-687-8607

Rank: 2Rank: 2

จังหวัด
ไม่มีข้อมูล
กระทู้
2
โพสต์
21
ขอบคุณมากๆครับ ดีมากๆเลยครับ
เดี๋ยวอาทิตย์หน้าผมเตรียมเอกสารเสร็จจะส่งไปพร้อมใบสมัครนะครับ
เพราะว่าจะได้เดินไปในแนวทางเดียวกัน

Rank: 6Rank: 6

G.S.A.
0001
จังหวัด
ฉะเชิงเทรา
กระทู้
103
โพสต์
3524

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

เข้ามาช่วยกันบริหารสมาคมยิ่งดีใหญ่เลยครับคุณนัดครับ
ว.อุดมทรัพย์ฟาร์มแพะบอร์เลือดร้อยที่แปดริ้วG.S.A.0001
ผู้นำเข้าแพะ-แกะสายเลือดแชมม์โลกจากแอฟริกา
และตัวแทนจัดจำหน่าย สายพันธุ์ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
udomsub.v@gmail.com  AIS 081-687-8607

Rank: 6Rank: 6

G.S.A.
0001
จังหวัด
ฉะเชิงเทรา
กระทู้
103
โพสต์
3524

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย


ไม่รู้จะทำอะไรสอนหลานขี่ม้าดีกว่าครับ

แสดงความคิดเห็น

ทิพวรรณฟาร์มแพะกำแพงเพชร(ครูเอ๋)  ชีวิตมันก็ต้องมีรีแลคกันมั่งเนาะท่านเนาะ 555  โพสต์เมื่อ 24-7-2012 10:51:06
ว.อุดมทรัพย์ฟาร์มแพะบอร์เลือดร้อยที่แปดริ้วG.S.A.0001
ผู้นำเข้าแพะ-แกะสายเลือดแชมม์โลกจากแอฟริกา
และตัวแทนจัดจำหน่าย สายพันธุ์ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
udomsub.v@gmail.com  AIS 081-687-8607

Rank: 1

จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
กระทู้
0
โพสต์
2
มือใหม่หาข้อมูลครับ
ขอทราบราคาโดยประมาณพ่อพันธุ์ เกรด A และแม่พันธ์เกรด A แม่พันธ์เกรด B
แหล่งที่สามารถหาซื้อได้

Rank: 6Rank: 6

G.S.A.
0001
จังหวัด
ฉะเชิงเทรา
กระทู้
103
โพสต์
3524

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

ต้นฉบับโพสต์โดย edward11 เมื่อ 22-7-2012 22:42
มือใหม่หาข้อมูลครับ
ขอทราบราคาโดยประมาณพ่อพันธุ์ เก ...

ถ้าเป็นพ่อ-แม่พันธุ์แล้วล่ะก็ราคาไม่ตายตัวครับ
สนใจซื้อแพะ-แกะผมขอแน่นำท่านไปเลือกซื้อที่กระทู้ซื้อ-ขายครับในนั้นมีลงประกาศเอาไว้หลายฟาร์มครับ
ถ้าเป็นฟาร์มสมาชิกสมาคมจะมีโลโก็สมาคมและเลขที่G.S.A.00XXอยู่ที่ชื่อผู้ประกาศด้านซ้ายครับ
"ซื้อขายอย่างเปิดเผยไม่มีย้อมแมวครับ"
ว.อุดมทรัพย์ฟาร์มแพะบอร์เลือดร้อยที่แปดริ้วG.S.A.0001
ผู้นำเข้าแพะ-แกะสายเลือดแชมม์โลกจากแอฟริกา
และตัวแทนจัดจำหน่าย สายพันธุ์ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
udomsub.v@gmail.com  AIS 081-687-8607

Rank: 2Rank: 2

จังหวัด
ไม่มีข้อมูล
กระทู้
2
โพสต์
21
ขอบคุณมากครับพี่วสันต์ ยังมิกล้าอาจเอื้อมครับผม
ความรู้เรื่องแพะก็ยังไม่มีเลยครับ

Rank: 6Rank: 6

G.S.A.
0001
จังหวัด
ฉะเชิงเทรา
กระทู้
103
โพสต์
3524

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

มีใจอย่างเดียวก็ได้แล้วครับคุณนัดครับไม่ยากอย่างที่คิดครับ
ว.อุดมทรัพย์ฟาร์มแพะบอร์เลือดร้อยที่แปดริ้วG.S.A.0001
ผู้นำเข้าแพะ-แกะสายเลือดแชมม์โลกจากแอฟริกา
และตัวแทนจัดจำหน่าย สายพันธุ์ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
udomsub.v@gmail.com  AIS 081-687-8607

Rank: 2Rank: 2

จังหวัด
ไม่มีข้อมูล
กระทู้
2
โพสต์
21
ขอบคุณอีกครั้งครับพี่ แล้วถ้ามีโอกาศจะเข้าร่วมฟังการประชุมซักครั้งครับ

Rank: 4Rank: 4

จังหวัด
กำแพงเพชร
กระทู้
3
โพสต์
287
เรียนท่านนายกครับ
              อืมมมมม ผมก็ไม่ทราบนะครับว่ามีกระทู้นี้หรือยังเพราะผมยังใช้งานเวปได้ไม่คล่อง คืออยากจะให้มีกระทู้ "พันธุ์แพะ-แกะในประเทศไทย" ขึ้นมาสักกระทู้ครับ เพื่อสมาชิกพี่น้องปัจจุบันของเราและรวมไปถึงสมาชิกที่กำลังจะก้าวเข้ามาใหม่ จะได้ไม่ต้องคอยถามกันว่า "ตัวนี้พันธุ์อะไร จะเลี้ยงพันธุ์ไหนดี ฯลฯ" ท่านเห็นควรอย่างไรดีครับท่าน...เอ...แล้วใครหละครับที่จะมีข้อมูลดีๆนี้อยู่ในมือแล้วพร้อมที่จะนำมาเผยแพร่ได้ครับกระผม

...ความคิดนี้ นำมาจากความคิดเห็นของเพื่อนท่านนึงนะครับ...ต้องขอเกริ่นไว้ก่อน...เขาว่า เออ...เข้ากระทู้ของสมาคมฯ พันธุ์แพะแกะ อาหารแพะแกะ ยารักษาโรค วิธีเลี้ยง ฯลฯ อะไรทำนองเนี่ยน่าจะมีให้อ่านให้ดูได้เลยโดยที่ไม่ต้องคอยถาม อะไรทำนองเนี่ยครับผม...
ครูเอ๋(082-4074274) ยัยB(088-1474901)=dtac= G.S.A 0050
เมื่อไม่เคยลิ้มรสขม...ก็ยากที่จะชื่นชมคุณค่าของรสหวาน
บ้านน้ำดิบ ห่างจากศาลากลาง3กิโลเมตรไปทางสุโขทัย

Rank: 6Rank: 6

G.S.A.
0001
จังหวัด
ฉะเชิงเทรา
กระทู้
103
โพสต์
3524

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

ต้นฉบับโพสต์โดย ทิพวรรณฟาร์มแพะกำแพงเพชร(ครูเอ๋) เมื่อ 24-7-2012 12:47
เรียนท่านนายกครับ
              อืมมมมม ผมก็ไม่ทราบนะครับว ...

ผมเคยลงไปแล้วนะครับครูเอ๋ผมหาเจอแต่แกะดูแกะไปก่อนนะครับ
วันนี้ผมขอนำเสนอสายพันธุ์แกะที่นิยมเลี้ยงในบ้านเราและมีแพร่หลายเลี้ยงง่ายโตไวนำมาฝากให้ชมกันครับ

แกะพันธุ์ซานตาอินเนส (Santa ines)

          เป็นแกะเนื้อ นำเข้าจากประเทศบราซิล ปี พ.ศ. 2540 ขนาดใหญ่ ใบหูยาวปรก  หน้าโค้งนูน มีหลายสี
น้ำหนักแรกเกิด 2.5-3.5 กก.
น้ำหนักหย่านม 18-20 กก.
โตเต็มที่ตัวผู้หนัก 80-90 กก. ตัวเมีย 60 กก.


แกะพันธุ์คาทาดิน(katahdin)
      
          กรมปศุสัตว์ ได้รับการสนับสนุนพ่อพันธุ์นี้จากสถาบันวินร็อค ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปีพ.ศ. 2532 เป็นแกะเนื้อที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี สามารถเลี้ยงปล่อยตามทุ่งหญ้าธรรมชาติได้โดยไม่ต้องเสริมอาหารข้น สามารถผลัดขนได้เมื่ออากาศร้อน ทนพยาธิภายในมากกว่าแกะพันธุ์อื่น เนื้อแกะมีคุณภาพดี ไม่มีกลิ่นสาบ
น้ำหนักแรกเกิด 2.5-3.0 กก.
น้ำหนักหย่านม 18-20 กก.
โตเต็มที่ตัวผู้หนัก 90 กก. ตัวเมีย 55-60 กก.



แกะพันธุ์ดอร์เปอร์ (Dorper)

         เป็นแกะที่พัฒนาพันธุ์ ในช่วงปี ค.ศ. 1940 ในอัฟริกาใต้โดยการ
ผสมข้ามพันธุ์ระหว่างแกะพันธุ์แบลคเฮด เปอร์เซียน (Blackhead Persian)
และพันธุ์ดอร์เซทที่มีเขา (Dorset Horn)
  กรมปศุสัตว์ นำเข้าจากประเทศแอฟริกาใต้  ในปีพ.ศ. 2539 เป็นแกะที่มีลักษณะเนื้อที่มีคุณภาพสูง สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี ทนแล้ง มีลำตัวสีขาว หัวสีดำ ไม่มีเขา


การเลี้ยงแกะ

การเลี้ยงแกะของเกษตรกรส่วนใหญ่เลี้ยงเป็นรายได้เสริม ลักษณะการเลี้ยงจึงปล่อยให้กินเองตาม ธรรมชาติ  ไม่มีการใช้หลักวิชาการ เพราะมักเข้าใจว่าแกะสามารถหากินได้เก่ง รวมทั้งต้องการใช้หลักวิชาการ  เพราะมักเข้าว่าแกะสามารถหากินได้เก่ง  รวมทั้งต้องการลดต้นทุนการเลี้ยงอย่างไรก็ตามหากผุ้เลี้ยงไม่เอาใจใส่ปรับปรุงการเลี้ยงให้ถูกต้อง  ผลตอบแทนจากการเลี้ยงจะน้อยลงเป็นเงาตามตัว  เช่น  สุขภาพทั่วไปไม่สมบูรณ์  ให้ลูกอ่อนแอ  อัตราของลูกระยะก่อนอย่านมสูงเป็นต้น

                ดังนั้น  เกษตรกรผู้สนใจและผู้กำลังคิดจะเริ่มเลี้ยงแกะ จึงควรให้ความเข้าใจการเลี้ยงอย่างถูกต้อง  เพื่อให้ผลตอบแทนกำไรจากการเลี้ยงสูงที่สุด  เอกสารคู่มือเล่มนี้ภาพประกอบแทนคำบรรยายเพื่อให้ดูเข้าใจได้ง่ายขึ้นและต้องการให้ท่านสามารถนำไปเป็นแนวทางการเลี้ยงแกะได้อย่างเหมาะสม

1.       เป้าหมายการเลี้ยงแกะ

1.1      ข้อดีในการเลี้ยงแกะ

·       ให้ผลผลิตและผลตอบแทนเร็วกว่าการเลี้ยงโค

·       ขนาดตัวเล็ก  ใช้พื้นที่น้อย

·       ให้ผลผลิตเนื้อ  หนัง  ขน

1.2      เป้าหมายในการเลี้ยงแกะ

เพื่อเพิ่มจำนวนลูกหย่านมต่อปีให้สูงขึ้น  โดย

·       ลดช่วงห่างการให้ลูกลงจาก  10-12  เดือน  เป็น  7-8  เดือน  ดูแลจัดการเรื่องการผสมพันธุ์ ให้พ่อแม่พันธุ์มีความสมบูรณ์

·    เพิ่มจำนวนลูกต่อครอกให้สูงขึ้น  คัดเลือกลูกแกะที่เกิดจากลูกแฝดมาเลี้ยง  ดูแลการให้อาหารพิเศษแก่แม่พันธุ์  2  อาทิตย์  ก่อนผสมพันธุ์

·       ลดอัตราการตายของลูกแกะ  คือ  พยายามไม่ให้ลูกตาย

2.       พันธุ์แกะที่กรมปศุสัตว์ส่งเสริม

1)แกะพันธุ์คาทาดิน

กรมปศุสัตว์  ได้รับการสนับสนุนพ่อพันธุ์นี้จากสถาบันวินันตูประเทศสหรัฐอเมริกา  เมื่อปี  พ.ศ.  2532  

เป็นแกะเนื้อที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี  เลี้ยงปล่อยตามทุ่งหญ้าธรรมชาติได้โดยไม่ต้องเสริมอาหารข้นผลัดขนเองเมื่ออากาศร้อน  ทนพยาธิภายในมากกว่าแกะพันธุ์อื่น  เนื้อแกะคุณภาพดี  ไม่มีกลิ่นสาบ  น้ำหนักแรกเกิด  2.5-3.0  กก.  น้ำหนักหย่านม  18-20  กก.  โตเต็มที่ตัวผู้หนัก  90  กก.  ตัวเมีย  55-60  กก.

2)แกะพันธุ์ซานตาอิเนส

เป็นแกะเนื้อ  นำเข้าจากประเทศบราซิล  ปี  พ.ศ.  2540  ขนาดใหญ่  ใบหูยาวปรก  หน้าโค้งนูน  

มีหลายสี  น้ำหนักแรกเกิด  2.5-3.5  กก.  น้ำหนักหย่านม  18-20  กก.  โตเต็มที่ตัวผู้หนัก  80-90  กก.  ตัวเมีย  60  กก.

พันธุ์


50%  วานตาอินเนส


50%  คาทาดิน


จำนวน                          (ตัว)

น้ำหนักแรกเกิด              (กก)

น้ำหนักหย่านม              (กก)

น้ำหนัก 6  เดือน            (กก)

น้ำหนัก  9  เดือน           (กก.)

น้ำหนัก  12  เดือน         (กก.)


41

3.8

15.5

22.5

29.8

37.0


28

2.7

15.0

18.5

26.4

30.5


3)แกะพันธุ์บาร์บาโดส  แบล็คเบลลี

เป็นแกะเนื้อ  มีถิ่นกำเนิดในหมู่แกะบาร์บาโดส   แถบทะเลแคริบเบียน  มีน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม  

และมีสีดำที่ใต้คาง  ใต้ใบหู  ขอบตา  และบริเวณพื้นท้องลงมาถึงใต้ขา  มีลักษณะพิเศษคือให้ลูกตก  อัตราการเกิดลูกแฝดสูง  60.8%  แม่แกะวัยเจริญพันธุ์หนัก  45  กก.  ขนาดครอก  1.5-2.3  ตัวต่อครอก  น้ำหนักแรกเกิดลูกเดี่ยว  3.0  กก.  ลูกแฝด  2.8  กก.  น้ำหนักอย่านมอายุ  4  เดือน  ลูกเดี่ยว  13.7  ลูกแฝด  13.4  กก.  และน้ำหนักโตเต็มที่  เพศผู้  68-90  กก.  เพศเมีย  40-59  กก.

          นอกจากนี้  กรมปศุสัตว์ได้นำแกะเนื้อพันธุ์ดอร์เปอร์  มีลักษณะเนื้อที่มีคุณภาพสูง  สามารถปรับตัวให้กับสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี  ทนแล้ง  มีลำตัวสีขาว  หัวสีดำ  ไม่มีเขา  และแกะพันธุ์เซ้าท์แอฟริกันมัตตอนเมอริโน  แกะพันธุ์เลี้ยงปรับปรุงพันธุ์แกะในประเทศ  เพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้แก่เกษตรกร

การคัดเลือกแกะที่มีลักษณะดีไว้ทำพันธุ์ พ่อพันธุ์

-          หลังเป็นเส้นตรง

-          หน้าอกลึกกว้าง

-          ส้นเท้าสูง

-          อัณฑะปกติ

-          ขาตรงแข็งแรง

แม่พันธุ์

-          หลังเป็นเส้นตรง

-          เต้านมเท่ากัน

-          ขาตรงแข็งแรง

การคัดลักษณะที่ไม่ดีออกจากฝูง          ขากรรไกรบนล่างไม่เสมอ

          ตาบอด

          ขาโค้งงอ

          ปลายเขาโค้งแทงคอ

          อัณฑะใบเดียว

          ส้นเท้าไม่สูง

การทำนายอายุจากการดูฟันหน้าล่าง

          กรณีที่แกะตัวที่เราต้องการจะซื้อมาเลี้ยง  ไม่มีพันธุ์ประวัติ  ไม่รู้วันเกิด  เราสามารถประมาณอายุแกะโดย  ดูจากฟันหน้าด้านล่างของแกะ  ซึ่งจะมี  8  ซี่  (4 คู่)

¨    ฟันน้ำนม  อายุน้อยกว่า  1  ปี

¨    ฟันแท้   1  คู่  อายุ  1-2  ปี

¨    ฟันแท้   2  คู่  อายุ  2-3  ปี

¨    ฟันแท้   3  คู่  อายุ  3-4  ปี

¨    ฟันแท้   4  คู่  อายุ  4-5  ปี

¨    ฟันแท้เริ่มสึก  อายุมากกว่า  5  ปี

หลักการผสมพันธุ์  หลักการผสมพันธุ์  มีข้อแนะนำดังนี้

1.       พ่อแม่คัดเลือกพันธุ์จากแกะที่มีความสมบูรณ์พันธุ์  มีการเจริญเติบโตดี  มีประวัติการให้ลูกแฝดสูง

2.       ห้ามนำพ่อแม่มาผสมกับตัวลูกมันเอง

3.       ห้ามนำลูกที่เกิดจากพ่อแม่เดียวกันมาผสมกันเอง

3.  การจัดการด้านอาหารแกะ

          แกะกินอะไรถึงโตดี

‏א)     ขาดแคลนอาหาร

                                -  กินหญ้าอย่างเดียว

                                 -  ผอม  ตัวเล็ก  อ่อนแอ

‏ב)     ให้กินอาหารถูกวิธี

                      -  กินอาหารพืชตระกูลถั่ว, หญ้า, รำ  กากถั่ว,เกลือ, น้ำดื่ม

                      -  อ้วน  ตัวใหญ่  แข็งแรง

          นอกจากนี้  ควรเข้าใจพฤติกรรมต่างๆของแกะ  เพื่อสามารถจัดการการเลี้ยงให้อาหารอย่างถูกต้อง

พฤติกรรมที่แตกต่างระหว่างแกะกับแพะ

1.       แกะมีนิสัยชอบและหญ้าในทุ่งที่โล่งเตียน  ต่างจากแพะ  ซึ่งชอบปีน  กินใบไม้  เปลือกไม้

2.       แพะสามารถอยู่ในพื้นที่ชุ่มชื่นและร้อนได้ดีกว่า

3.       แพะสามารถปีน  กระโดดข้าม  หรือแม้แต่การขุดดินมุดรั้วได้  ซึ่งแกะทำไม่ได้

4.       แพะฉลาดกว่าแกะ  หันหน้าเข้าสู้กับศัตรูขณะกะจะวิ่งหนีศัตรูขี้ขลาด  และแกะจึงมักอยู่รวมกันเป็นฝูง

5.       พ่อพันธุ์แพะจะดึงดูดความสนใจจากตัวเมีย  โดยการปัสสาวะรดที่ขาหน้าท้อง   อก  และเครา  แต่

แกะจะมีกลิ่นตัวฉุนรุนแรงเพิ่มขึ้นในระยะผสมพันธุ์

นิสัยการกินของอาหารของแกะ

          แกะ  สามารถกินหญ้าได้หลายชนิดและพุ่มไม้ต่างๆ  แต่แพะมีนิสัยชอบเลือกกินหญ้า  หรือพืชที่มีลำต้นสั้น  ชอบกินหญ้าที่งอกขึ้นใหม่ๆหญ้าหมักและใบพืชผัก  ตลอดจนพืชหัวประเภทต่างๆหลังการเก็บเกี่ยวได้  แต่ควรปล่อยให้ใบพืชผักเหล่านั้นแห้งน้ำก่อน  เนื่องจากกินในขณะนั้นยังสดอยู่  อาจทำให้แกะท้องอืดได้  เพราะพืชผักเหล่านั้นมีน้ำมาก  และควรยาฆ่าแมลงที่ใช้ในสวนพืชผักนั้นด้วย

          แกะ  เดินแทะเล็มหญ้าวนเวียนไม่ซ้ำที่กันแม้จะมีหญ้าอยู่มากก็ตามก็ยังคงเดิมต่อไป  ยิ่งมีหญ้ามากแกะก็จะเลือกมากเลือกกินแต่หญ้าอ่อนๆ  เช่นเดียวกับแพะซึ่งไม่ชอบกินหญ้าในที่เดียวกันเป็นเวลานานๆ  การเลี้ยงแกะที่มีอายุมากหรือลูกแกะที่อายุเล็กควรเลี้ยงในแปลงหญ้าที่มีคุณภาพดีเพราะฟันของแกะเหล่านี้ไม่ค่อยดี  การกัดหญ้าในแต่ละครั้งจะได้ปริมาณหญ้าที่น้อย

          ในการปล่อยแกะแทะเล็ม  ควรปล่อยแกะลงกินหญ้าที่มีความสูงจากพื้นดินอยู่ระหว่าง  4-8 นิ้ว  ส่วนแพะชอบกินหญ้าที่มีความสูงที่สุดเท่าที่จะกินได้  ไม้พุ่มไม้หนามแพะจะชอบกินมาก  รวมทั้งยอดอ่อนของพืช  ส่วนแกะจะเก็บกินหญ้าสั้นตามหลัง  

          การเลี้ยงแกะในสวนยาง  สวนผลไม้  เช่น  สวนมะม่วง  มะขาม  และขนุน  เป็นต้น  เพื่อช่วยกำจัดวัชพืช  แกะสามารถกินผลไม้ที่ร่วงหล่นลงเป็นอาหารได้ด้วย  นอกจากนี้ยังอาศัยร่มเงาของต้นไม้หลบแสงแดดร้อนได้แต่ไม่ควรปล่อยแกะลงไปในสวนที่ผลไม้ร่วงหล่นมากๆในสวนผลไม้ที่ร่วงหล่นมากๆในครั้งแรก  เพราะอาจจะกินมากเกินไป  ทำให้ท้องอืดได้  ถ้าเลี้ยงปล่อยอยู่แล้วเป็นประจำก็จะไม่มีปัญหามากนัก

พฤติกรรมการกินเมื่อเลี้ยงปล่อยแทะเล็ม

·       แกะจะเดินหากินอาหารได้ไกลถึงวันละ  6-8  กม.

·       ปริมาณที่กินได้  3-6%  นน.ตัว (ถ้าแกะหนัก  30  กก.  จะกินหญ้าสดวันละ  3  กก./ตัว )

·       แกะเลือกกินหญ้า  70%  ไม้พุ่ม  30%  แพะเลือกกินไม้พุ่ม  72%  หญ้า  28%

·       ถ้าขังจะกินน้ำวันละ  0.68  ลิตร/ตัว  ปล่อย  2  ลิตร/ตัว

·       ใช้เวลากินอาหาร  30%  เคี้ยวเอื้อง  12%  เดินทางหาอาหาร     12%  และพักผ่อน  46%

การตัดใบไม้ให้กิน

1. การตัดใบไม้ให้กินไม่ควรให้เกิน  1  ใน  3  ของหญ้า

2. การตัดกิ่งไม้ควรเลือกกิ่งที่มีใบมากๆใบไม่แก่เกินไป

3. ควรตัดพืชตระกุลถั่ว  เช่น  ใบกระถิน  แค  ทองหลางให้แม่แกะที่อุ้มท้อง   หรือกำลังเลี้ยงลูก

4. ควรตัดให้เหนือจากพื้นดินไม่น้อยกว่า  1 เมตร

5. ควรผูกกิ่งไม้ไว้เหนือ พื้นเพื่อให้แกะได้กิน

6. ควรตัดใบไม้มากกว่า  2  ชนิด  ให้แกะได้เลือกกิน   และปลูกต้นไม้  2-3  ชนิด  ริมรั้วโรงเรือนให้กินและให้

ร่มเงา

7. ควรปล่อยแกะลงแบบหมุนเวียน  แปลงละ  4-5  สัปดาห์  เพื่อใช้แปลงอย่างมีประสิทธิภาพและตัดวงจร

พยาธิ

8. ควรปล่อยแกะลงแปลงหญ้าช่วงสายหลังจากหมดน้ำค้างแล้ว   ถ้าตัดให้กินควรตัดตอนช่วงบ่าย  และตัด

เหนือพื้นดิน  เพื่อป้องกันพยาธิ

4.       การเตรียมสถานที่และอุปกรณ์การเลี้ยง

          โรงเรือน  ควรทำคอกให้อยู่  มีหลังคากันแดดและฝน  ยกพื้นสูง  เพื่อทำความสะอาดง่าย    มีที่ใส่น้ำและอาหาร  ความยาวรางอาหารมีพอให้กินได้ครบทุกตัว  และมีที่แบ่งกั้นเพื่อกันตัวอื่นที่แข็งแรงกว่าแย่งกินอาหาร  และถ้าเป็นไปได้ควรแบ่งกั้นคอกสำหรับเลี้ยงแกะโต  แกะเล็ก  แม่อุ้มท้อง   แม่เลี้ยงลูกหรือคอกลูกแกะ

          พื้นคอก  ทำเป็นไม้ระแนงในแกะโตมีความห่าง  1.5  ซม.  แกะเล็ก1.3  ซม.  เพื่อให้มูลและปัสสาวะลงดิน  พื้นคอกจะได้แห้งและสะอาด  รวมทั้งช่วยป้องกันพยาธิที่อาจติดลงมากับมูลได้  และเก็บมูลใต้คอกใช้ทำปุ๋ยต่อไป

          รั้ว กั้นแปลงหญ้า  อาจทำจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่นที่มีราคาถูก  เช่นไม้รวก  หรืออวนจับปลา

          อุปกรณ์ ควรมีมีดและกรรไกรตัดแต่งกีบ  เพื่อป้องกันโรคกีบเน่า  เขี่ยสิ่งสกปรกที่ซอกออก  ตัดส่วนที่งอกเกินออก  ตัดให้ได้รูปกีบที่ถูกต้อง  ควรหมั่นตรวจกีบแกะสม่ำเสมอ  (ตัดกีบเดือนละครั้ง)  โดยเฉพาะแกะที่เลี้ยงขังตลอดเวลาอาจวางก้อนหินใหญ่ไว้ในคอก

          ลักษณะกีบที่ดี  แข็งแรง  สูงเสมอกัน  ไม่ผิดรูป  ผิวเรียบ  ไม่มีรอยฉีกแตกหรือมีสิ่งหมักหมม

5.  การจัดการเลี้ยงดู

ช่วงวัยเจริญพันธุ์  (ระยะการเป็นสัด)

          แกะเริ่มวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ  3-4  เดือน   ตัวเมียจะเป็นสัดยอมให้ตัวผู้ขึ้นทับผสมพันธุ์ได้  ควรแยกลูกตัวเมียออกไปเลี้ยงเฉพาะในคอกตัวเมียและจะให้ผสมพันธุ์กันเมื่ออายุ  8  เดือนขึ้นไป  เพื่อให้พ่อแม่มีความสมบูรณ์พันธุ์ก่อน  มิฉะนั้นอาจทำให้ตัวแม่ไม่พร้อมเลี้ยงลูกน้ำนมน้อย  ลูกที่เกิดอาจตัวเล็กแคระแกรนและอ่อนแอตายลงได้

          ลักษณะการเป็นสัดและแม่แกะสังเกตดูได้จาก

-          อวัยวะเพศบวมแดง

-          กระดิกหางบ่อยขึ้น

-          จะยืนเงียบเมื่อตัวผู้หรือตัวอื่นมายืนประกบติด

-          ไม่ค่อยอยู่สุขกระวนกระวาย  และไม่อยากกินอาหาร

แม่แกะมีระยะห่างการเป็นสัด  17+2  วัน  แม่แพะมีระยะการเป็นสัด  21+2  วัน

ช่วงการผสมพันธุ์

      เมื่อแม่แกะเป็นสัดแล้ว  ระยะที่เหมาะสมให้ตัวผู้ขึ้นทับคือ  12-18  ชั่วโมง  หลังจากที่เห็นอาการการเป็นสัด

      อัตราส่วนการผสม

      -  พ่อหนุ่ม 1 ตัว  ต่อพ่อแม่  20-30  ตัว

      -  พ่ออายุ  2  ปีขึ้นไป  1  ตัว  ต่อแม่  20-30  ตัว

      ข้อแนะนำ

1.    ไม่ควรนำพ่อมาผสมกับลูกตัวเมีย  หรือลูกตัวผู้ผสมกับแม่  เพราะอาจทำให้ลูกที่เกิดขึ้นตัวเล็กลง  ไม่สมบูรณ์  หรือลักษณะที่ไม่ดีพิการออกมา

2.       ควรสับเปลี่ยนหมุนเวียนพ่อพันธุ์ตัวใหม่ทึก  12  เดือน  (แลกหรือขอยืมระหว่างฟาร์ม/หมู่บ้าน)

3.       ควรคัดแม่ที่ผสมไม่ติด  2  ครั้งออกไป

4.       ควรแยกเลี้ยงแม่ท้องแก่  และแม่เลี้ยงลูกในคอกต่างหากเพื่อกันอันตรายจากตัวอื่น

ช่วงการอุ้มท้อง  (ระยะอุ้มท้อง  150  วัน)

          สังเกตดูว่าแม่แกะอุ้มท้องหรือ  โดย

-          ไม่แสดงอาการเป็นสัดอีกหลังจากผสมพันธุ์ไปแล้ว  17-21  วัน

-          ท้องขยายใหญ่ขึ้นตามลำดับ

-          เต้านมและท้องน้ำหนักแม่จะเพิ่มขึ้น

ช่วงระยะอุ้มท้องน้ำหนักแม่จะเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ  5  กก.  ดังนั้นควรเสริมหญ้า  ถั่ว  หรือพืช

ตระกูลถั่วต่างๆและเสริมอาหาร  รำข้าวกากถั่วเหลือง  หรือวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร  เช่น  แอ้ข้าวโพด  และ

ควรมีน้ำสะอาดวางให้กินเต็มที่  และคอกเลี้ยงควรแห้ง  สะอาด  พื้นคอกแข็งแรง   ไม่ระแนงไม่ผุพัง  เพื่อป้องกันการแท้งลูก

ช่วงการคลอดลูก

          ลักษณะอาการใกล้คลอดลูกของแม่แกะสังเกตจาก

-          ตะโพกเริ่มขยาย  หลังแอ่นลง  (เพราะท้องหนักขึ้น)

-          เต้านมขยายใหญ่มากขึ้นและหัวนมเต่ง

-          อวัยวะเพศบวมแดง  และชุ่มชื้น

-          จะไม่นอน  แต่ลุกขึ้น เอาเท้าตะกุยพื้นคอก

-          ความอยากอาหารลดลง

การเตรียมตัวเตรียมแม่คลอดลูก

-          ควรหาคอกที่สะอาด  และพื้นไม่ชื้นแฉะ

-          ควรมีฟางแห้งรองพื้นให้ความอบอุ่นลูก  ช่วงกลางคืน  หรือฤดูหนาวควรมีไฟกกลูก  

-          พื้นระแนงที่เลี้ยงลูกควรมีช่วงห่างไม่เกิน   1.3  ซม

-          ควรมีทิงเจอร์ไอโอดีนทาแผลที่ตัดสายสะดือ

ท่าคลอดลูกที่ปกติ   ลูกจะเอาเท้าทั้ง  2   ข้าง ออก  หรืออาจจะเอาเท้าทั้ง  2  ข้าง

ท่าคลอดลูกที่ผิดปกติ   เอาเท้าออกข้างเดียวอีกข้างพับอยู่ด้านใน  อาจทำให้มีปัญหาการคลอดยาก

ปกติลูกควรจะออกจากท้องแม่ใน  5-15  นาที  หรือภายใน  1  ชั่วโมง  หลังจากที่ถุงน้ำคล่ำแตกแล้ว  และรกควรออกออกมาภายใน  4-12  ชั่วโมง  เมื่อลูกออกมาปล่อยให้แม่เสียลูกให้ตัวแห่งหรืออาจช่วยเช็ดตัวลูก และตัดสายสะดือทาทิงเจอร์

สาเหตุที่ทำให้เกิดการคลอดลูกยาก  เพราะ

-          ลูกคลอดท่าผิดปกติ

-          แม่มีกระดูกเชิงกรานแคบเกินไป

-          ลูกตัวใหญ่เกินไป

-          ลูกตายในท้องแม่

-          แม่ไม่สมบูรณ์  อ่อนแอ

การช่วยการคลอด  หากลูกคลอดผิดท่า  หลังจากปล่อยให้แม่คลอดลูกเองแล้ว  ใน  1  ชั่วโมง  ลูกยังไม่คลอดออกมา

-          ตัดเล็บมือให้สันลับคม  ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่

-          ล้างบริเวณอวัยวะเพศ/ด้านท้ายให้สะอาดด้วยสบู่

-          ให้ผู้ช่วยค่อยๆ  จับแม่แกะวางนอนลงทางด้านขวาแม่ทับพื้นจับบริเวณคอ

-          ค่อยๆใช้มือล้วงเข้าไปในอวัยวะเพศ

-          สัมผัสลูก  ให้รู้ตำแหน่งหัวและเท้า      แล้วจึงดึงเท้าให้ออกมาทั้ง  2 ข้าง  ในท่าที่ถูกต้องช้าๆ

-          เมื่อลูกออกมาแล้ว  เช็ดเลือดบริเวณปากจมูกเพื่อกระตุ้นให้ลูกหายใจ  แล้วปล่อยให้แม่เลียลูก

-          กรณีอื่น  ที่ไม่สามารถคลอดลูกได้  ควรปรึกษาสัตว์แพทย์ทันที

แม่แกะจะเริ่มเป็นสัดอีกครั้ง   หลังจากที่คลอดลูกแล้วประมาณ  35-45 วัน  ดังนั้นจึงควรระวังหากแม่ยังไม่

สมบูรณ์พอ  เช่น  ต้องเลี้ยงลูกแฝดควรให้ผสมใหม่เมื่อแม่หย่านมลูกแล้วและมีความพร้อมสมบูรณ์ ถ้าแม่ให้ลูกตัวเดียวสามารถผสมได้เลยเมื่อเป็นสัด

การเลี้ยงดูลูกช่วงแรกคลอด

          ควรให้แม่ได้กินนมน้ำเหลืองจากแม่ทันที  ถ้าหากลูกอ่อนแอ   อาจรีดนมแม่ใส่ขวดหรือหลอดฉีดยาแล้วนำมาป้อนลูกด้วยตนเอง

          หากแม่ไม่มีน้ำนมเลี้ยงลูก หรือแม่ตาย  อาจใช้น้ำนมเหลืองเทียมทำขึ้นเองโดยใช้ส่วนผสม  ดังนี้

-          นมวัว  หรือนมผง  0.25-0.5  ลิตร

-          น้ำนมตับปลา  1 ช้อนชา

-          ไข่ไก่  1 ฟอง

-          น้ำตาล  1  ช้อนชา

ผสมละลายให้เข้ากันและอุ่นนมที่อุณหภูมิ  60  องศา  ป้อนให้ลูกดูดกิน  3-4 วันๆ  ละ  3-4  ครั้ง  หลังจาก

นั้นฝากตัวอื่นเลี้ยง  ซึ่งต้องควรคอยดูแม่ยอมรับลูกกำพร้าหรือไม่  ถ้าไม่ยอมรับอาจใช้ยาหม่องหรือของที่มีกลิ่นฉุนป้ายจมูกแม่   หรือใช้เชือกผูกคอแม่เพื่อไม่ให้ลูกกำลังดูดนม

การเลี้ยงดูลูกช่วงก่อนหย่านม

-          ควรดูแลเรื่องความสะอาดทั้งอาหารและพื้นคอก  ป้องกันลูกขี้ไหล

-          ควรให้ลูกได้หัดกินหญ้าหรืออาหารเสริมตั้งแต่อายุ  3-4  สัปดาห์

-    ลูกที่หย่านมแม่แล้ว  ลูกเมียควรแยกเลี้ยงออกจากตัวผู้  เพื่อป้องกันการผสมกันเอง  เนื่องจากแกะเป็น

สัดเร็วในช่วง  4-6  เดือน  หากปล่อยให้ผสมกันเองตั้งแต่เล็กจะทำให้แคระแกรนและลูกอ่อนแอตาย

6.  การจัดการด้านสุขภาพแกะ

          ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสุขภาพสัตว์

·       อุณหภูมิร่างกาย                 102.5-10               องศาฟาเรนไฮด์

·       อัตราการเต้นของหัวใจ                    60-80                     ครั้ง/นาที

·       อัตราการหายใจ                 15-30                     ครั้ง/นาที

·       วัยเจริญพันธุ์                                      4-12                       เดือน

·       วงรอบการเป็นสัด                             17+-2                     วัน

·       ระยะการเป็นสัด                                12-36                     ชั่วโมง

·       ระยะการอุ้มท้อง                               150                         วัน

การดูแลสุขภาพของแกะ

          ผู้เลี้ยงอาจพบปัญหา  แกะมีสุขภาพไม่ดี  เจ็บป่วย  จึงต้องหมั่นเอาใจใส่ดูแลในเรื่องสุขภาพ  ดังนี้

          1.  กำจัดพยาธิภายนอก            ได้แก่  เห็บเหาไร  ซึ่งทำให้สัตว์รำคาญ  และขนหลุดเป็นหย่อมๆ  หรือเป็นขี้เรื้อนมีผลทำให้สุขภาพไม่ดีผลผลิตลดลง  การป้องกันแก่ไขโดยอาบน้ำและฉีดพ่นลำตัวด้วยยากำจัดพยาธิภายนอก

          2.  กำจัดพยาธิภายในได้แก่  พยาธิตัวกลม  ตัวตืด  และพยาธิใบไม้ในตับ  ซึ่งพยาธินี้จะทำให้ซูบผอม  เบื่ออาหาร  อ่อนเพลีย  ขนและผิวหนังหยาบกร้าน  ท้องเสีย  ผลผลิตลด  ถ้าเป็นรุนแรงทำให้โลหิตจางและตาย  การป้องกันปกติถ่ายพยาธิแกะทุก  3  เดือน  แต่ถ้าพบว่าบริเวณที่เลี้ยงแกะมีพยาธิชุกชุม  ให้ถ่ายพยาธิ  1  เดือน

          3.  การป้องกันโรคระบาดได้แก่  โรคปากและเท้าเปื่อย  โดยฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามคำแนะนำของกรมปศุสัตว์กำหนด

สาเหตุการติดต่อโรค   เกิดจาก

          1.  ติดมากับอาหาร

          2.  น้ำ

          3.  โรงเรือนที่มีสัตว์ป่วย

          4.  สัตว์ป่วย

          5.  มีพาหะนำโรค

          6.  แมลงพาหะ

          7.  คนเลี้ยงเป็นพาหะ

ดังนั้น  หากพบแกะป่วยที่เป็นโรคระบาด  ควรแยกเลี้ยงตัวป่วยออกมาห่างจากฝูง


โรคที่มักพบ

          1.  ท้องอืด

          สาเหตุ         เกิดก๊าซจาการหมักในกระเพาะอาหารเนื่องจากินหญ้าอ่อนหรือพืชใบอ่อนถั่วมากเกินไป

          อาการ          กระเพาะอาหารพองลมขึ้นทำให้สวาปทางว้ายของแกะป่องขึ้น

          การป้องกัน

-          ไม่ควรให้แกะกินหญ้าหรือพืชตระกูลถั่วเกินไป

-          หลีกเลี่ยงให้แกะกินพืชเป็นพิษ  เช่น  มันสำปะหลัง  หรือไมยราพยักษ์

การรักษาและควบคุม

-          ถ้าท้องป่องมากอย่าให้แกะนอนตะแคงซ้าย

-          กระตุ้นให้แกะยืนหรือเดิน

-          เจาะท้องที่สวาปซ้ายด้านบนด้วยเข็มเจาะหรือมีดเพื่อระบายก๊าซออก

2.       ปอดบวม

          สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

          อาการ          จมูกแห้ง ขนลุก  มีไข้  ซึม  เบื่ออาหาร  หายใจหอบ  มีน้ำมูกข้น  ไอหรือจามบ่อยๆ

          การป้องกัน

-          ปรับปรุงโรงเรียนให้อบอุ่น  อย่าให้ลมโกรก  ฝนสาด

          การักษาและควบคุม

-          ใช้ยาปฏิชีวนะโดยการฉีด  3  วันติดต่อกัน  เช่น  ไทโลซิน  คลอแลมเฟนิคอล  เตตราซัยคลิน  เป็นต้น

3.  โรคกีบเน่า

          สาเหตุ         เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

          อาการ          เดินขากระเผลก  กีบเน่ามีกลิ่นเหม็น

          การป้องกัน                 

-          รักษาความสะอาด  อย่าให้พื้นคอกสกปรก  ชื้นแฉะ

-          หลีกเลี่ยงของมีคม  เช่น   ตะปูไม่วางบนพื้น  ทำให้กีบเท้าเป็นแผล

-          ตัดแต่งกีบเป็นประจำปกติ

          การรักษาและการควบคุม

         -     ทำความสะอาด  ตัดส่วนที่เน่าออก  ล้างจุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อ  เช่น  ฟอร์มาลีน  2-3%  หรือสารละลายด่าง

ทับทิม  10%

-          ใช้ผ้าพันแผลที่เน่า  ป้องกันแมลงและบรรเทาการเคลื่อนไหว

4.  โรคบิด

          สาเหตุ         เกิดจากเชื้อโปรโตซัวในลำไส้

          อาการ          แกะถ่ายเหลวอาจมีมูกเลือดปน  ผอม  ท้องเสีย  หลังโก่ง

          การป้องกัน

-          อย่าให้แปลงหญ้าชื้นแฉะ

-          ไม่ล่ามแกะซ้ำที่เดิม

          การรักษาควบคุม

-          โดยทั่วไปแกะมักมีเชื้อบิดอยู่แล้ว  ถ้ามีไม่มากนักจะไม่แสดงอาการ

-          ถ้าแกะแสดงอาการป่วยให้ใช้ยาในกลุ่มทัลทาซูริล  กรอกให้กิน

5.  โรคปากเป็นแผลพอง

          สาเหตุ         เกิดจากเชื้อไวรัส

          อาการ          เกิดเม็ดตุ่มเหมือนกระหล่ำขึ้นที่ริมฝีปาก  และจมูกอาจลุกลามไปตามลำตัว

          การป้องกัน

-          เมื่อแกะป่วยขึ้นให้แยกออก  รักษาต่างหาก

-          กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหวี่แมลงวันซึ่งเป็นตัวนำเชื้อไวรัส

          การรักษาและควบคุม

-          ใช้ยาสีม่วงหรือสารละลายจุลสี  5%  ทาที่แผลเป็นประจำวันละ  2  ครั้ง  จนกว่าจะหาย

-          ควบคุมกำจัดแมลง

-          แยกขังตัวป่วยออกจากแกะดี

6.  ปากและเท้าเปื่อย

          สาเหตุ         เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

          อาการ          เกิดเม็ดตุ่มพองขึ้นที่ไรกีบ  ริมฝีปากและเหงือก  ทำให้ขากระเผลกและน้ำลายไหล  แต่อาการจะไม่เด่นชัดเหมือนในโค-กระบือ

          การป้องกัน  รักษาและควบคุม

-          ดูแลสุขาภิบาล

-          ใช้ยาสีม่วงป้ายแผลที่เปื่อยวันละ  1  ครั้ง

-          แยกขังแกะป่วยแล้วก็รักษาให้หาย

-          ให้วัคซีนป้องกันทุก  6  เดือน

7.  การเก็บบันทึกข้อมูล

การทำเบอร์ประจำตัว

          การทำเบอร์ประจำตัวเพื่อเก็บบันทึกข้อมูลลงในทะเบียนลงประวัติของแกะแต่ละตัว  มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อผู้เลี้ยงมาก  ทำให้ทราบประวัติสายพันธุ์  และความสามารถในการผลิต  (เช่น  น้ำหนักแรกเกิด  น้ำหนักหย่านม  อัตราการเจริญเติบโตระยะต่างๆ  การให้นม  การให้ลูก)  รวมทั้งช่วยในการจัดการผสมพันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์  ทำให้ปรับปรุงพันธุ์เป็นไปอย่างแม่นยำขณะเดียวกันช่วยป้องกันการผสมเลือกชิดที่อาจเกิดขึ้นในฟาร์ม      วิธีการทำเบอร์ประจำตัวสัตว์ที่นิยมทำกัน  มีอยู่  3     วิธี      คือ

          1.  การใช้คีมสักเบอร์หู  เบอร์จะปรากฎอยู่ด้านในของใบหูไม่ค่อยลบเลือนง่าย   เหมาะสำหรับแกะขังคอก  เพราะต้องจับพลิกดูเบอร์ที่ด้านในของหู

          2.  การติดเบอร์หู  โดยใช้แผ่นพลาสติกหรือโลหะที่มีหมายเลขแล้วใช้คีมหนีบให้ติดกับใบหู  วิธีนี้ค่อยข้างง่ายและสะดวกต่อการอ่าน  สามารถมองเห็นได้จากระยะไกล

          3.  ใช้เบอร์แขวงคอ  โดยใช้เชือกร้อยแผ่นไม้  โลหะ  หรือพลาสติกที่มีหมายเลขแล้วคอแกะ  วิธีนี้เป็นวิธีที่ค่อนข้างง่าย  แต่บางครั้งเบอร์อาจหลุดหรือเชือกอาจจะหายได้ง่าย  และอาจเกิดอันตรายเชือกไปเกี่ยวกิ่งไม้ทำให้รัดคอได้

การบันทึกข้อมูลทะเบียนประวัติ

เบอร์พันธุ์


พันธุ์


เพศ


วันเกิด


เบอร์พ่อ


เบอร์แม่


นน.


ลำดับคอก


หมายเหตุ






































การบันทึกข้อมูลการสืบพันธุ์  ได้แก่

          -                    อายุและน้ำหนักเมื่อเริ่มผสมพันธุ์                                   -   อัตราการผสมติด

          -                    อัตราการคลอดลูก                                                               -   อายุและน้ำหนักเมื่อให้ลูกตัวแรก

          -                    อัตราการเกิดลูกเดี่ยว      ลูกแฝด                                     -   ระยะห่างจากให้ลูก

-                    อัตราการเลี้ยงลูกรอดเมื่อหย่านมและหลังหย่านม

การบันทึกข้อมูลการเจริญเติบโต  ได้แก่

-          น้ำหนัก  รอบอก  ความยาว  ส่วนสูง  เมื่ออายุแรกเกิด, 3,6,9  เดือน  และ 1,2,3,4  ปี

-          น้ำหนักเมื่อให้ลูกตัวแรก

-          น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ของพ่อแม่พันธุ์

เบอร์ตัว


วันที่ชั่ง


อายุ


น้ำหนัก


อก


ยาว


สูง


หมายเหตุ



































หน่วยงานของกรมปศุสัตว์ที่เลี้ยงแพะแกะ


หน่วยงาน


จังหวัด


แพะ


แกะ


รหัส


โทรศัพท์


ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์หนองกวาง


ราชบุรี


1,2



032


261090


ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ตาก


ตาก


3



055


511728


ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์สุราษฎร์ธานี


สุราษฎร์ธานี


1,2



077


286939


ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ยะลา


ยะลา


1,2,3



073


214210


สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ปากช่อง


นครราชสีมา


4



044


313072


สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ชัยภูมิ


ชัยภูมิ


1,2


4,6


044


812370


สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์แม่ฮ่องสอน


แม่ฮ่องสอน



7,8


053


611031


สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ปลวกแดง


ระยอง



1,2,5


038


618461


สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์เทพา


สงขลา


1,2


3,5


074


329910


สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ปัตตานี


ปัตตานี


1,4,5,6



073


335935


สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์นราธิวาส


นราธิวาส


1,2


1,2


073


512279


สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์กระบี่


กระบี่


1,2



075


621347


สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ตรัง


ตรัง


3



075


218476


แพะเนื้อ  1  =แองโกลนูเลียน                                         แกะเนื้อ                 1  =คาทาดิน                         3  =บาร์บาโดส

                  2  =บอร์                                                                                              2  =ซานตาอิเนส 4  =ดอร์เปอร์

                  3.  =พื้นเมือง                                                                                    5  =พื้นเมือง                        

แพะนม  4  =ซาเนน                                                          แกะขน                  6  =เมอริโน                         7  =บอนด์

                  5  =อัลไพน์                                                                                       8  =คอร์ริเดล

                  6  =ทอกเกนเบิร์ก

ที่มา :


นายสุวิทย์  อโนทัยสินทวี .กลุ่มวิจัยและพัฒนาสัตว์เล็ก  กองบำรุงพันธุ์สัตว์  สำนักงานพัฒนาการปศุสัตว์และ         ถ่ายทอดเทคโนโลยี  กรมปศุสัตว์  ถนนพญาไท  กรุงเทพ

หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนสมาชิกบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ  


ว.อุดมทรัพย์ฟาร์มแพะบอร์เลือดร้อยที่แปดริ้วG.S.A.0001
ผู้นำเข้าแพะ-แกะสายเลือดแชมม์โลกจากแอฟริกา
และตัวแทนจัดจำหน่าย สายพันธุ์ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
udomsub.v@gmail.com  AIS 081-687-8607

Rank: 6Rank: 6

G.S.A.
0001
จังหวัด
ฉะเชิงเทรา
กระทู้
103
โพสต์
3524

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

แพะพันธุ์ซาเนน (Saanen)
     
ลักษณะ สีขาวทั้งตัว ใบหูเล็กหูตั้ง หน้าตรง
โตเต็มที่ผู้ 75 กิโลกรัม
เมีย 60 กิโลกรัม
ผลผลิตนม เฉลี่ย 2.2 กิโลกรัม/วัน ระยะ 200 วัน




      

แพะพันธุ์หลาวซาน

       เป็นแพะพันธุ์นม จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ลักษณะ คล้ายแพะพันธุ์ซาแนน     

โตเต็มที่ผู้ 80 กิโลกรัม
เมีย 60 กิโลกรัม
ผลผลิตนม เฉลี่ย 2.2 กิโลกรัม/วัน ระยะ 200 วัน

  

แพะพันธุ์อัลไพน์

        ลักษณะ สีน้ำตาลหรือดำ ใบหูเล็กตั้ง หน้าตรง มีแถบสีข้างแก้ม
โตเต็มที่ผู้ 75 กิโลกรัม
เมีย 55 กิโลกรัม
ผลผลิตนม เฉลี่ย 2.0 กิโลกรัม/วัน ระยะ 200 วัน




แพะพันธุ์ทอกเก็นเบอร์

        ลักษณะ เป็นแพะพันธุ์นม สีช็อกโกเลต ใบหูตั้ง หน้าตรงมีแถบ
สีขาวข้างแก้ม
โตเต็มที่ผู้ 75 กิโลกรัม
เมีย 55 กิโลกรัม
ผลผลิตนมเฉลี่ย 2.0 กิโลกรัม/วัน ระยะ 200 วัน

  แพะพันธุ์บอร์ ( Boer)       กรมปศุสัตว์ นำเข้ามาจากประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อปลายปีพ.ศ. 2539 เป็นแพะเนื้อขนาดใหญ่  ลักษณะเด่นคือมี
ลำตัวสีขาว หัวและคอจะมีสีแดง
ใบหูยาวปรก มีน้ำหนักแรกเกิด 4 กก.
น้ำหนักหย่านม 20 กก.
โตเต็มที่ตัวผู้หนัก 90 กก. ตัวเมีย 65 กก.   
สายพันธุ์แพะที่นิยมเลี้ยงในบ้านเราครับ

พันธุ์บอร์ (BOER)

       กรมปศุสัตว์ นำเข้ามาจากประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อปลายปีพ.ศ. 2539 เป็นแพะเนื้อขนาดใหญ่  ลักษณะเด่นคือมี

ลำตัวสีขาว หัวและคอจะมีสีแดง
ใบหูยาวปรก มีน้ำหนักแรกเกิด 4 กก.
น้ำหนักหย่านม 20 กก.
โตเต็มที่ตัวผู้หนัก 90 กก. ตัวเมีย 65 กก.  

พันธุ์แองโกลนูเบียน (ANGLONUBIAN)

       กรมปศุสัตว์ นำเข้ามาเลี้ยงขยายพันธุ์กว่า 20 ปีแล้ว เพื่อปรับปรุงพันธุ์แพะพื้นเมืองให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เป็นแพะที่ให้ทั้งเนื้อและนม มีหลายสี ทั้งสีเดียวในตัว หรือมีสีด่างปน สันจมูกมีลักษณะเป็นเส้นโค้ง ใบหูยาวปรกลง น้ำหนักแรกเกิด 2.5 กก.
หย่านม (3 เดือน) 15 กก. โตเต็มที่ตัวผู้หนัก 60-70 กก. ตัวเมียหนัก 50-60 กก.   
  

พันธุ์พื้นเมือง

       แพะพื้นเมืองภาคใต้มีลักษณะคล้ายกับแพะแกมบิงกัตจัง ของมาเลเซีย ขนาดเล็ก  การเจริญเติบโตช้า มีสีหลากหลาย ใบหูเล็กตั้ง น้ำหนักแรกเกิด 1-1.5 กก.หย่านม 8-9 กก.
โตเต็มที่เพศผู้หนัก 25-30 กก. เพศเมีย 20 กก. สามารถผสมพันธุได้ตลอดปี

  


ว.อุดมทรัพย์ฟาร์มแพะบอร์เลือดร้อยที่แปดริ้วG.S.A.0001
ผู้นำเข้าแพะ-แกะสายเลือดแชมม์โลกจากแอฟริกา
และตัวแทนจัดจำหน่าย สายพันธุ์ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
udomsub.v@gmail.com  AIS 081-687-8607

Rank: 4Rank: 4

จังหวัด
กำแพงเพชร
กระทู้
3
โพสต์
287
เจี๊ยกกกกกท่านเนี่ยความเร็วกี่เมกครับเนี่ยยยยย 555
น่าจะแยกเป็นกระทู้ใหม่เนาะครับท่าน คนเข้ามาดูจะได้เห็นเป็นกระทู "พันธุ์แพะ-แกะไทย"ไปเลยครับท่านนนนน หวายยยยยคนอารายจะถามปุ๊บได้ปั๋บ คาหนาดนี้นนนนนน 555
ครูเอ๋(082-4074274) ยัยB(088-1474901)=dtac= G.S.A 0050
เมื่อไม่เคยลิ้มรสขม...ก็ยากที่จะชื่นชมคุณค่าของรสหวาน
บ้านน้ำดิบ ห่างจากศาลากลาง3กิโลเมตรไปทางสุโขทัย

Rank: 10Rank: 10

G.S.A.
0014
จังหวัด
ฉะเชิงเทรา
กระทู้
4
โพสต์
400

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

ครูเอ๋ค่ะ...ท่านนายกเค้าส่วนใหญจะเปิดปุ๊บติดปั๊บเลยค่ะ
ช่อผกาซานต้าฟาร์มแกะสวยๆที่แปดริ้ว AIS081-687-8607
เป็นผู้นำเข้าแกะดอร์เปอร์ Black Head สายเลือดแอฟริกาใต้
เป็นประเทศต้นกำหนดแกะสายพันธุ์นี้ chapaka9@gmail.com

Rank: 9

G.S.A.
0003
จังหวัด
ชัยนาท
กระทู้
8
โพสต์
524

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย



           อื้อ...ของเค้าแรงจิง ๆ...
ก้องภพฟาร์มแพะ ชัยนาท 085-0669139
prasert.khu@gmail.com
จำหน่ายแพะสายพันธุ์บอร์และลูกผสมบอร์ราคาชาวบ้าน
** เปลี่ยนหญ้า เปลี่ยนใบไม้ให้เป็นเงิน **

Rank: 12Rank: 12

G.S.A.
0022
จังหวัด
เพชรบูรณ์
กระทู้
3
โพสต์
407

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

แน่นอนจริงๆ
วิเชียรบุรีฟาร์ม เพชรบูรณ์
pparnwas@hotmail.com

Rank: 4Rank: 4

จังหวัด
กำแพงเพชร
กระทู้
3
โพสต์
287
อูยยยย เปิดปุ๊บติดปั๊บซะด้วยยยยครับ ว่ะ555
ครูเอ๋(082-4074274) ยัยB(088-1474901)=dtac= G.S.A 0050
เมื่อไม่เคยลิ้มรสขม...ก็ยากที่จะชื่นชมคุณค่าของรสหวาน
บ้านน้ำดิบ ห่างจากศาลากลาง3กิโลเมตรไปทางสุโขทัย

Rank: 6Rank: 6

G.S.A.
0001
จังหวัด
ฉะเชิงเทรา
กระทู้
103
โพสต์
3524

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

อุ้ย...เปิดปุ๊บติดปั๊บคงหมายถึงพัดลมหรือเตาแก๊สที่บ้านล่ะมั้ง55555
ว.อุดมทรัพย์ฟาร์มแพะบอร์เลือดร้อยที่แปดริ้วG.S.A.0001
ผู้นำเข้าแพะ-แกะสายเลือดแชมม์โลกจากแอฟริกา
และตัวแทนจัดจำหน่าย สายพันธุ์ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
udomsub.v@gmail.com  AIS 081-687-8607

Rank: 6Rank: 6

G.S.A.
0001
จังหวัด
ฉะเชิงเทรา
กระทู้
103
โพสต์
3524

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทย

เป็นจดหมายเชิญจากปศุสัตว์เพชรบูรณ์ท่านใดต้องการอ่านให้คลิ๊กที่เนื้อหาของจดหมายนะครับ สมาชิกท่านสมาคมท่านใดอยู่ใกล้ๆเราพบกันที่งานนะครับ
งานนี้สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะไทยจัดเต็ม
ว.อุดมทรัพย์ฟาร์มแพะบอร์เลือดร้อยที่แปดริ้วG.S.A.0001
ผู้นำเข้าแพะ-แกะสายเลือดแชมม์โลกจากแอฟริกา
และตัวแทนจัดจำหน่าย สายพันธุ์ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
udomsub.v@gmail.com  AIS 081-687-8607
คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | ลงทะเบียน

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะแห่งประเทศไทย

GMT+7, 30-4-2024 09:45

Powered by Discuz! X2

© 2001-2011 Comsenz Inc.

ขึ้นไปด้านบน