สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะแห่งประเทศไทย

 ลืมรหัสผ่าน
 ลงทะเบียน
แชร์หน้านี้ไปที่ไลน์หรือเฟสบุ๊คได้ทันที คลิ๊กที่ปุ่ม . Share
ดู: 2522|ตอบ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

[ทั่วไป] เกร็ดความล็กๆน้อย(ฤดูหนาว) [คัดลอกลิงก์]

Rank: 3

จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์
กระทู้
12
โพสต์
108
กรอกหมายเลขโพสต์ ที่ต้องการจะข้ามไปดูในแต่ละโพสต์
คัดลอกลิงค์

ช่วงนี้เป็นฤดูหนาวอากาศเย็น แพะอาจจะป่วยได้ นะ ค๊าบ(โรคปอดปวม)!!!

แค่เวลาตอนกลางคืน  หาอะไรบังลมให้น้องแพะหน่อย แค่นี้ก็สามารถป้องกันโรคปอดปวมได้แล้ว ค๊าบ

หรือให้น้องแพะกินอาหารตอนกลางคืนเพื่อ( ให้มันอิ่ม!!ค๊าบ!!)

อาหารมันจะได้สร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย       

ข้อดีฤดูหนาวก็คือ เวลากลางคืนน้องแพะกินได้แยะกว่าปกติ.......มั่ง(ถ้าจำไม่ผิดนะ!!!!)

FarM_TanGBuRaPaJiT.CoM

Rank: 3

จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์
กระทู้
12
โพสต์
108
คัดลอกลิงค์
โพสต์เมื่อ 10-12-2012 01:11:09 |แสดงโพสต์ทั้งหมด
ข้อมูลอ้างอิง>>>   

การเกิดโรคปอดบวม มักจะมีสาเหตุโน้มนำได้หลายอย่าง ที่สำคัญ ได้แก่
1. โรงเรือนไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น คอกสกปรก ชื้นแฉะ อากาศถ่ายเทไม่สะดวก มีฝุ่นละอองมาก โคอยู่ร่วมกันอย่างแออัด เป็นต้น
2. มีร่างกายอ่อนแอ เนื่องจากขาดอาหาร ได้แก่ ให้อาหารและน้ำไม่พียงพอ อาหารไม่เหมาะสม หรือไม่มีคุณภาพ เช่น มีเชื้อราปนเปื้อน มีโปรตีนมากเกินไป หรือขาดวิตามิน เอ เป็นต้น
3. ลูกได้รับนมน้ำเหลืองไม่พอ
4. มีพยาธิในปอดและในลำไส้มาก
5. สำลักน้ำ หรือน้ำนม เศษอาหาร หรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เข้าหลอดลมและปอด
6. สูดดม หรือกินสารเคมี
7. เกิดจากความเครียดต่างๆ เช่น การขนส่งเคลื่อนย้าย การเปลี่ยนที่อยู่ การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ มีฝนตกชุก อากาศร้อน หรือหนาวเย็นเกินไป เป็นต้น
8. สาเหตุอื่นๆ เช่น ภาวะภูมิแพ้ต่างๆ หรือมีวัตถุแปลกปลอมแทงทะลุผนังอกเข้าสู่ปอด

อาการ
อาการส่วนใหญ่ที่พบ คือ ซึม มีไข้ (103-107๐F เบื่ออาหารน้ำมูกไหล ไอ หายใจเร็วและถี่ มีอาการหอบ หรือหายใจลำบาก หายใจมีเสียงดัง กระวนกระวาย จมูกแห้ง น้ำลายไหล น้ำตาไหล ฟังบริเวณปอดจะได้ยินเสียงหายใจและเสียงปอดที่ผิดปกติ บางครั้งพบมีน้ำมูกใสในระยะแรกต่อมาจะข้นเหนียว บางทีมีกลิ่นเหม็น ในลูกโคอาจมีอาการขาดน้ำ โดยสังเกตเห็นได้จาก ขนหยาบกระด้างและแห้ง เบ้าตาลึกและอาจมีอาการท้องอืด หรือท้องเสียร่วมด้วย อาการของโรคจะรุนแรงมากขึ้นเมื่อเกิดจากเชื้อแบคทีเรียร่วมกับเชื้อไวรัส
lสัตว์ที่ไม่แข็งแรงอาจตายภายตว์ใน 3-7 วัน หลังแสดงอาการ ส่วนโคที่กำลังให้นม น้ำนมจะลดลงและโคที่กำลังท้องจะทำให้แท้ง ซึ่งมักจะพบในรายปอดบวมเนื่องจากเชื้อรา
สัตว์ที่เป็นแบบเรื้อรัง จะมีอาการทรุดโทรม เบื่ออาหาร ผอมลงเรื่อยๆ ร่างกายมีอุณหภูมิปกติหรือสูงขึ้นเล็กน้อย อาจมีอาการหอบ และไอร่วมด้วย จะเป็นอยู่นาน
การรักษา
รักษาตามสาเหตุและอาการ ควรเริ่มรักษาตั้งแต่เริ่มแสดงอาการ โดยแยกโคป่วยออกจากฝูงไปเลี้ยงในที่อบอุ่นและสะอาด มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก แล้วให้ยาปฏิชีวนะ เช่น เพนิซิลลิน กานามัยซิน เตตราไซคลิน เทอรามัยซิน (Penicillin, Kanamycin, Tetracycline Terramycin) หรือยากลุ่มซัลฟา (Sulfonamide) ได้แก่ ไทโลซิน (Tylosin) เป็นต้น
ในรายที่ร่างกายทรุดโทรม อ่อนเพลีย หรือไม่กินอาหาร ควรให้ยาบำรุงและอิเลคโตรไลท์ (electrolyte) ควบด้วย บางครั้งอาจให้พวก คอติโคสเตียรอย (Corticosteroid) หรือแอนติฮีสตามีน (Antihistamine) ร่วมด้วย
การควบคุมและป้องกัน
1. ควรเอาใจใส่ดูแลlสัตว์อย่างใกล้ชิดเพื่อสังเกตอาการผิดปกติจะได้ให้การรักษา ควบคุมและป้องกันโรคได้ทันท่วงที
2. รักษาความสะอาดโรงเรือน และสิ่งแวดล้อมรอบๆ โรงเรือนให้สะอาดอยู่เสมอ
3. รักษาสุขภาพของlสัตว์ให้แข็งแรง โดยให้อาหารที่เหมาะสมอย่างเพียงพอ มีคุณภาพดีไม่มีเชื้อโรคปนเปื้อน เป็นต้น
4. ให้ลูกโคกินนมน้ำเหลือง (Colostrum) ทันทีหลังคลอด
5. ให้ยาถ่ายพยาธิอย่างสม่ำเสมอ
6. ลดภาวะความเครียดของlสัตว์ เช่น ไม่ให้โคอยู่รวมกันหนาแน่นเกินไปแยกเลี้ยงlสัตว์ที่มีอายุต่างกัน โรงเรือนควรมีที่บังแดด บังลมและฝน และมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
7. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด
8. ควรจัดการฟาร์มและการสุขาภิบาลอื่นๆ ให้ดี เพื่อทำให้lสัตว์มีสุขภาพสมบูรณ์และแข็งแรง
การเก็บตัวอย่างส่งห้องปฏิบัติการ
เก็บน้ำเมือกหรือน้ำมูก เสมหะ ชิ้นส่วนของปอดที่สดและมีวิการ น้ำในเยื่อหุ้มปอดและ mediastinal lymph node ใส่ในภาชนะที่สะอาด และปราศจากเชื้อโรค ใส่ในกระติกที่มีน้ำแข็งส่งห้องปฏิบัติการ กรณีที่สงสัยจะเกิดจากสารพิษ ให้เก็บสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารและอาหารสัตว์ส่งตรวจ

แสดงความคิดเห็น

NwGoatsFarm123  ประดับความรู้ให้น้องใหม่อย่างผมดีเลยครับ  โพสต์เมื่อ 19-1-2013 11:49:28
FarM_TanGBuRaPaJiT.CoM
คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | ลงทะเบียน

สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะแห่งประเทศไทย

GMT+7, 16-5-2024 14:02

Powered by Discuz! X2

© 2001-2011 Comsenz Inc.

ขึ้นไปด้านบน