สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะแห่งประเทศไทย

ชื่อกระทู้: ตรรก ดีมาน ซับพลาย [สั่งพิมพ์]

โดย: เต็งหนึ่งฟาร์ม    เวลา: 29-10-2014 11:19:17     ชื่อกระทู้: ตรรก ดีมาน ซับพลาย

" เต็งหนึ่งฟาร์ม  "        สถานการณ์แพะตอนนี้ตลาดมีความต้องการมาก  แต่  ไม่มีของจะส่งให้ลุกค้าครับ   ใครมีแนวทางหรือมีข้อเสนอแนะการวางแผนการผลิตอย่างไร  ขอข้อมูลมาจอยกันบ้างครับ    [attach]13079[/attach]

โดย: นายอวิรุทธ์    เวลา: 29-10-2014 12:37:11

กำหนดเป้าหมายการผลิตของท่าน....และเพิ่มจำนวนแม่พันธุ์ให้เพียงพอกับเป้าหมาย....รวมฟาร์มเล็กหลาย หลายฟาร์มให้กลายเป็นฟาร์มใหญ่ 1 ฟาร์มครับผม...อย่างไรโทรปรึกษาได้ครับ 089-0501138 หนึ่งครับ
โดย: เต็งหนึ่งฟาร์ม    เวลา: 29-10-2014 14:07:05

" เต็งหนึ่งฟาร์ม  "
ขอบคุณครับ คุณหนึ่ง[attach]13080[/attach]
โดย: Baansuan_Ranch    เวลา: 29-10-2014 16:52:08

โลโก้ใหญ่ดีครับ
โดย: เต็งหนึ่งฟาร์ม    เวลา: 30-10-2014 08:45:30

ต้นฉบับโพสต์โดย Baansuan_Ranch เมื่อ 29-10-2014 16:52
โลโก้ใหญ่ดีครับ

ขอบคุณครับ
โดย: นายอวิรุทธ์    เวลา: 30-10-2014 11:18:22

....เอาไปเป็นแนวทางประมาณนี้นะครับไปปรับใช้กับกลุ่มของท่าน....
ระเบียบกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ-แกะจังหวัดบุรีรัมย์
ตำบลห้วยราช  อำเภอห้วยราช  จังหวัดบุรีรัมย์

……………………………………………………….

        สมาชิกกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ-แกะจังหวัดบุรีรัมย์  ได้ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ-แกะ  โดยขอขึ้นทะเบียนกลุ่มเกษตรกรภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาปศุสัตว์แบบมีส่วนร่วม  สำหรับเกษตรกรรายย่อยต่อสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดบุรีรัมย์  เพื่อขอรับรองว่าเป็นกลุ่มเกษตรกรภายใต้ยุทธศาสตร์ฯเกษตรกรรายย่อยของจังหวัดบุรีรัมย์
        เพื่อให้การดำเนินงานของกลุ่มฯสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  สมาชิกทุกคนได้ร่วมกันพิจารณาระเบียบของกลุ่มเกษตรกรฯ  ดังนี้

หมวดที่  ๑  ที่ทำการกลุ่มฯ
        ตั้งอยู่บ้านเลขที่  11๙  หมู่ที่  ๑๔  ตำบลห้วยราช  อำเภอห้วยราช  จังหวัดบุรีรัมย์

หมวดที่  ๒  คุณสมบัติของสมาชิก
๑.        มีอายุตั้งแต่  ๒๐  ปีขึ้นไป
๒.        ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
๓.        เป็นผู้เลี้ยงแพะ-แกะในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์
๔.        กรณีสมาชิกสมทบเป็นผู้เลี้ยงแพะ-แกะในเขตพื้นที่ปศุสัตว์เขต 3
๕.        เป็นผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ (แพะ-แกะ) ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์
๖.        มีเล้าหรือโรงเรือนเลี้ยงแพะ-แกะที่ถูกสุขลักษณะ
๗.        ให้ความร่วมมือและสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดของกลุ่มได้
๘.        มีความประพฤติดีเป็นที่ยอมรับของสังคม

หมวดที่  ๓  การพ้นจากสมาชิก
๑.        ยื่นหนังสือขอลาออก
๒.        ขาดการเข้าร่วมประชุมสมาชิกกลุ่มฯติดต่อกันเกิน ๓ ครั้ง
๓.        เสียชีวิต
๔.        ขาดคุณสมบัติของสมาชิกตามข้อ 2

หมวดที่  ๔  คณะกรรมการกลุ่มฯ
๑.        ประธานกลุ่มฯ ได้จากสมาชิกร่วมกันเสนอชื่อสมาชิกกลุ่มฯ ที่มีความเหมาะสม  หากมีการเสนอชื่อ ๒  คนขึ้นไป  ให้สมาชิกใช้ระบบเสียงข้างมากเลือกเพียง ๑ คน  ให้ดำรงตำแหน่งประธานกลุ่มฯ
๒.  ให้ประธานกลุ่มฯพิจารณาคัดเลือกสมาชิกเป็นคณะกรรมการกลุ่มฯประกอบด้วย  รองประธานจำนวน ๑ คน  เลขานุการจำนวน ๑ คน เหรัญญิกจำนวน ๑ คน กรรมการจำนวน 5 คน  รวมคณะกรรมการกลุ่มฯ จำนวน 8 คน
๓.  การดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการกลุ่มฯ ให้ดำรงตำแหน่งตามวาระ  กำหนดวาระ 2 ปี  เมื่อครบวาระ  ให้คณะกรรมการกลุ่มฯ ทั้งชุดพ้นจากตำแหน่ง  แล้วดำเนินการคัดเลือกคณะกรรมการกลุ่มฯ ตามขั้นตอนที่ ๑ และ ๒

หมวดที่  ๕  หน้าที่ของคณะกรรมการกลุ่มฯ
        ๑.  กำหนดทิศทางในการวางแผนการผลิต  เพิ่มผลผลิต  ควบคุมคุณภาพผลผลิต  ของสมาชิกกลุ่มฯ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความยั่งยืนของกลุ่ม ฯ
        ๒.  ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
        ๓.  ดำเนินการประชุมสมาชิกกลุ่มฯ
        ๔.  ตรวจสอบคุณสมบัติของสมาชิกเข้าใหม่  และลงมติรับสมาชิกใหม่
        ๕.  ตรวจสอบสมาชิกที่ขาดประชุมติดต่อกัน  ๓  ครั้ง  เพื่อลงมติให้พ้นจากสมาชิก
        6.  คณะอนุกรรมการ ในการเบิกจ่ายเงินของกลุ่มฯ ประกอบด้วย  1.ประธาน   2.เลขานุการ          3.กรรมการ 1 ท่าน

หมวดที่  ๖  หน้าที่ของสมาชิก
        ๑.   ต้องเข้าร่วมประชุมสมาชิกกลุ่มฯ ทุกครั้ง
        ๒.   ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของกลุ่มฯ
        ๓.   ให้ความร่วมมือ  และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในการดูแลสุขภาพของ
แพะ-แกะ

หมวดที่  ๗  วัตถุประสงค์ของกลุ่มฯ
        ๑.  เพื่อเกิดความร่วมมือและประสานงานระหว่างเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์  ในการส่งเสริมการเลี้ยงแพะ-แกะในจังหวัดบุรีรัมย์
        ๒.  เพื่อสร้างอำนาจต่อรองทางการตลาด
        ๓.  เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะจากการระดมความคิด
        ๔.  เพื่อรองรับนโยบายสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ
        ๕.  เพื่อร่วมกันสร้างผลผลิต  และรวบรวมผลผลิตในการขาย  
        ๖.  เพื่อพัฒนาการเลี้ยงแพะ-แกะให้เกิดเป็นอาชีพที่มั่นคงมากขึ้น
หมวดที่  ๘  กองทุนกลุ่มฯ
        ๑.  ค่าธรรมเนียมในการสมัครรายละ  ๑๐๐  บาท
        ๒.  ค่าบำรุงรายปี  200 บาท/ราย/ปี          
        ๓.  สมาชิกขายแพะ-แกะ  หักร้อยละ ๑  ของราคาขายแพะ-แกะทั้งหมด
        ๔.  การเบิกจ่ายใช้เงินกองทุนต้องเป็นมติเอกฉันท์และมีการรายงานการใช้เงินทุกครั้ง

หมวดที่  ๙  เอกสารการสมัครสมาชิกกลุ่มฯ
        ๑.  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  ๑  ฉบับ (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
        ๒.  สำเนาทะเบียนบ้าน  ๑  ฉบับ  (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
        ๓.  รูปถ่ายขนาด  ๑ นิ้ว  จำนวน  ๒  ใบ

โดย: คอกคุณศักดิ์รักแพะ    เวลา: 30-10-2014 17:23:47

โลโก้ พี่เต็งหนึ่งใหญ่จริงๆ
ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ กลุ่มแพะบ่อน้ำ-ลพบุรี
โดย: bankloveza28    เวลา: 31-10-2014 19:37:06

ต้นฉบับโพสต์โดย นายอวิรุทธ์ เมื่อ 30-10-2014 11:18
....เอาไปเป็นแนวทางประมาณนี้นะครับไปปรับใช้กับกลุ่มข ...

สุดยอดเลยครับ เป็นแนวทางของการตั้งกลุ่มที่ดีมากครับ

โดย: donkearball    เวลา: 4-11-2014 10:21:11

อุบลก็ตั้งแล้วครับ
โดย: เต็งหนึ่งฟาร์ม    เวลา: 10-11-2014 11:57:14

" เต็งหนึ่งฟาร์ม  "
5555  
ขอโทษด้วยครับ  สำหรับโลโก้     555
คิดการณ์ใหญ่เสียแล้วละครับ  ไม่รู้จะกลับตัวทันป่าว  หลังปีใหม่พบกับความยิ่งใหญ่ของ
เต็งหนึ่งฟาร์ม เต็มรูปแบบครับ...[attach]13233[/attach]




ยินดีต้อนรับสู่ สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะแห่งประเทศไทย (http://www.thaigoatsheep.com/) Powered by Discuz! X2