สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะแห่งประเทศไทย

ชื่อกระทู้: ลูกเเพะข้อบวมทำงัยดีคับ [สั่งพิมพ์]

โดย: first_nakorn    เวลา: 15-11-2013 04:00:04     ชื่อกระทู้: ลูกเเพะข้อบวมทำงัยดีคับ

มีอาการซึมไม่ค่อยกินอาหาร
ลุกไม่ค่อยขึ้น รักษายังงัยได้บ้างคับ
[attach]10423[/attach]

โดย: สามพีฟาร์ม    เวลา: 15-11-2013 05:13:50

ช่องคอกห่างๆๆๆลูกแพะไม่ตกล่องหรือครับ
โดย: v.udomsub    เวลา: 15-11-2013 09:04:59

ลองนำเลือดตรวจดู
โรคซีเออี : ข้อและสมองอักเสบในแพะ
(CAE : Caprine Arthritis Encephalitis)




โดย: ปริญญาฟาร์ม    เวลา: 15-11-2013 10:11:02

บวมข้างเดียวด้วย มันบาดเจ็บจากอะไรหรือเปล่าครับ ยาลดอาการบวมแก้ได้มั้ย ต้องรอผู้รู้จริงๆมาตอบดีกว่า
โดย: หมอก้อง    เวลา: 15-11-2013 16:38:31

บางทีที่ลุกไม่ขึ้น ซึมไม่กินอาหารไม่ได้มาจากข้อบวมก็ได้เครับ  ลองเปิดเปลือกตาดูครับซีดหรือเปล่า อาจจะมีปัญหาเรื่องพยาธิก็ได้ครับ แพะผอมมั้ยครับ หรือไม่ก็อาจจะป่วยมีไข้ไม่สบายซึมไม่กินอาหารก็ได้นะครับลองใช้ปรอทวัดไข้ที่ตูดดูครับ หรือไม่ก็จับปลายหูดูครับมันจะเย็นกว่าปกติครับ ส่วนเรื่องข้อบวมคิดว่าน่าจะมาจากอุบัติเหตุนะครับ หรือการลุกขึ้นนอนแล้วเข้าไปถูกับพื้นคอกบ่อยๆก
็บวมได้นะครับ ลองใช้ยาลดอักเสบ เช่น Dexa หรือ butasyl ต่อเนื่อง 3-4 วันดูนะครับ
โดย: อิฐ    เวลา: 17-11-2013 09:08:50

ตัวนี้ลูก  ซันจิหม้าย
โดย: dejasaang    เวลา: 20-11-2013 12:13:45

หายบวมแล้วยังครับคุณเฟิร์สทำตามหมอก้องบอกแล้วยังครับถ้าอาการเปลือกตาไม่ซีดให้ยาตามที่หมอบอกก็น่าจะหายแล้วนะครับ ดูแลเป็นพิเศษหน่อยนะครับ. เป็นกำลังใจให้หายใวๆครับ
โดย: v.udomsub    เวลา: 22-11-2013 08:29:53

     เด๊กซาโซน - Dexasone    ยาฉีดสำหรับสัตว์


เด๊กซาโซน - Dexasone

ส่วนประกอบ :

ใน 1 มิลลิลิตรของ เด๊กซาโซนชนิดฉีด ประกอบด้วย เด๊กซาเมทธาโซน โซเดียม ฟอสเฟท (Dexamethasone sodium phosphate) เทียบเท่ากับ Dexamethasone-21-phosphate 5 mg


สรรพคุณ :


เป็นสารคอร์ติโคสเตอรอยด์ (Corticosteroid) ที่แรงมาก แรงกว่าคอร์ติโซนอย่างน้อย 30 เท่า มีสรรพคุณแก้การอักเสบ แก้อาการช็อค การเครียดและทำให้ร่างกายสร้างน้ำตาลได้สะดวก


ขนาด :  



ชนิดสัตว์

ข้อบ่งใช้

ขนาดยา

เฉพาะที่

ทั่วไป

เฉพาะที่

ทั่วไป

ม้า

ข้ออักเสบ (arthritis) ช่องระหว่าง
ข้อต่ออักเสบ (bursitis) ตึง ปวดเมื่อย
(strains) เอ็นอักเสบ (tendinitis)
เอ็นและเยื่อหุ้มข้ออักเสบ
(taenosynovitis)
เยื่อหุ้มกระดูกอักเสบ (periarthritis)

ไมโอโกลบินยูเรีย (Myoglobinuria)
มีลมในถุงปอด (emphysema)
อาการแพ้ (allergy) ผิวหนังเห่อ
(Urticaria) ร่างกายเป็นพิษ (toxemia)
เนื่องจากเชื้อ อี.โคไล ตับอักเสบ
(hepatitis) เป็นลม (Shock)
โรคผิวหนังชนิดไม่มีเชื้อ ภาวะเครียด
(Stress)

ขึ้นอยู่กับ
ขนาดของ
สัตว์ 2 – 10
มก.




10 – 30
มก.






โค

ข้ออักเสบ ช่องระหว่างข้อต่ออักเสบ
ตึง ปวดเมื่อย เอ็นอักเสบ
เอ็น และเยื่อหุ้มข้ออักเสบ
เยื่อหุ้มกระดูกอักเสบ

คีโตซีสระยะแรกของโค (Ketosis)
อัมพาธหลังคลอด ใช้ร่วมกับการรักษาโรค
ไข้น้ำนมซึ่งเกิดจากอยู่ในภาวะเครียด
นิวโมเนีย เนื่องจากเชื้อไวรัสภาวะเครียด

ขึ้นอยู่กับ
ขนาดของ
สัตว์ 2 – 10
มก.

10 – 30
มก.


ลูกม้า
ลูกโค
แกะ

แพะ

สุกร

ข้ออักเสบ ช่องระหว่างข้อต่ออักเสบ
ตึงปวดเมื่อย เอ็นอักเสบ เอ็น และเยื่อหุ้มข้ออักเสบ
เยื่อหุ้มกระดูกอักเสบ

อาซิโตนีเมียในแกะ (acetonaemia)




ขึ้นอยู่กับ
ขนาดของ
สัตว์ 2 – 5
มก.

2 – 5
มก.



แม่สุกร

ข้ออักเสบ ช่องระหว่างข้อต่ออักเสบ
ตึง ปวดเมื่อย เอ็นอักเสบ เอ็น
และเยื่อหุ้มข้ออักเสบ  เยื่อหุ้มกระดูก
อักเสบ



ชักหลังคลอด (eclampsia post
partum) ไม่มีน้ำนมหลังคลอด
(agatactia post partum)
อาหารไม่ย่อยหลังคลอด
(indigestion post partum)
ภาวะเครียด

ขึ้นอยู่กับ
ขนาดของ
สัตว์ 2 – 10
มก.


2 – 5
มก.




สุนัข
แมว

ข้ออักเสบ ช่องระหว่างข้อต่ออักเสบ
ตึง ปวดเมื่อย เอ็นอักเสบ เอ็น
และเยื่อหุ้มข้ออักเสบ  เยื่อหุ้มกระดูก
อักเสบ




อาการช็อคหลังอุบัติเหตุ
หรือหลังการผ่าตัด อาการแพ้ (allergy)
ชักหลังคลอด (puerperal eclampsia)
หืด (bronchial asthma)
โรคผิวหนัง ผิวหนังขยายใหญ่
เปลี่ยนสี (acanthosia nigricans)
โรคติดเชื้อที่หู และตา ภาวะเครียด

ขึ้นอยู่กับ
ขนาดของ
สัตว์ 0.25 -
0.5 มก.



สุนัข 0.25 มก.

แมว
0.25 – 0.5 มก.


ข้อห้าม :




ห้ามใช้ยาเมื่อเป็นโรคเบาหวาน โรคกระดูกผุ (osteoporosis) โรคไต (renal diseases)
เลือดคั่งในกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac congestion) โรคดังกล่าวให้ระมัดระวังในการรักษา
ด้วยยา คอร์ติโคสเตอร์

โรคติดเชื้อต่างๆ ไม่ควรใช้ยานี้

การใช้ยานี้ให้อยู่ในความดูแลของสัตวแพทย์เท่านั้น


การใช้ยา :






          โดยฉีดยาเข้าทางเส้นเลือด กล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าทางข้อต่อ หรือเยื่อหุ้มข้อต่อ ขนาดยาที่ให้ครั้งแรกอาจให้ได้เต็มที่ตามขนาดที่กำหนดใช้ แต่เมื่ออาการของโรคดีขึ้น ควรลดขนาดของยาลงในระดับ maintenance level
ขนาดยาต่างๆ สำหรับรักษาทางระบบทั่วไป ควรค่อยๆ ลดลงจนถึงขนาด maintenance level การหยุดยาควรค่อยๆ กระทำและหากระยะของการรักษาต้องเนิ่นนานออกไป ขอแนะนำให้ใช้ฮอร์โมน ACTH เพื่อกระตุ้นต่อมแอดรีนาลิน
การฉีดยาเข้าข้อต่อ ต้องระมัดระวังให้ปราศจากการติดเชื้อจริงๆ และควรเอาน้ำที่ข้อต่อ (Synovial fluid) ออกก่อนให้เท่ากับน้ำยาที่ฉีดเข้าไป


ขนาดบรรจุ :


หลอดละ 1 มิลลิลิตร กล่องละ 50 หลอด
ขวดละ 10 มิลลิลิตร และ 50 มิลลิลิตร กล่องละ 1 ขวด




ยาเด็กซ่าตามที่คุณหมอก้องบอกหน้าตาเป็นอย่างนี้ครับ

(ห้ามฉีดหรือใส่บริเวณแผลที่สัตว์ตั้งท้องนะครับแท้งทันที)



โดย: bankloveza28    เวลา: 12-10-2014 19:08:25






ยินดีต้อนรับสู่ สมาคมผู้เลี้ยงแพะ-แกะแห่งประเทศไทย (http://www.thaigoatsheep.com/) Powered by Discuz! X2